การสร้างบ้านในฝัน เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านหลายๆคน มักจะใช้เวลาในการคิดตรึกตรอง และวางแผน เพื่อให้ได้บ้านที่เราต้องการ ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนที่จะทำบ้านออกมาแล้วทำบ้านได้อย่างที่ต้องการ เพราะจะมีปัญหา ปัจจัยที่คาดที่ไม่ถึงและควบคุมไม่ได้ต่างๆมากมาย
ในเรื่องของผู้รับจ้างที่จะสร้างบ้านให้เราก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญ หากได้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และความชำนาญก็จะช่วยลดความเสี่ยงเกิดปัญหาในงานก่อสร้าง แต่คนส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาทิ้งงานหรือเบิกเงินเกินงวดงานของผู้รับเหมา ทำให้บ้านสร้างไม่เสร็จ
การเลือกใช้บริษัทรับสร้างบ้าน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าสนใจ เพราะมีข้อดี กว่าการจ้างผู้รับเหมาตรง หลายข้อ วันนี้เราจะมาสรุปเทคนิคการเลือก บริษัทรับสร้างบ้าน ว่ามีแนวทางในการคัดเลือกอย่างไรบ้าง
1.บริษัทรับสร้างบ้านควร จดทะเบียนนิติบุคคล มีวิศวกร สถาปนิก คอยให้คำปรึกษา
โดยทั่วไปบริษัทรับสร้างบ้านที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล มักจะมีระบบการตรวจสอบคุณภาพการก่อสร้างหน้างานทำให้ลดความเสี่ยง ในการเกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างทรุดตัว แตกร้าว หรืองานระบบใช้งานไม่ได้ เมื่อเทียบกับการใช้ผู้รับเหมารายย่อยทั่วไป
ซึ่งมักจะทำตามแบบหรือทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่ได้ตรวจสอบ ความเหมาะสมของการใช้งาน หรือไม่มีตัวกลางในการตรวจสอบควบคุมคุณภาพที่กำลังก่อสร้าง
2.ควรเข้าไปดูที่ออฟฟิศของบริษัทรับสร้างบ้านเพื่อดูความน่าเชื่อถือ
การเลือกว่าจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หากเราได้รู้จักที่อยู่และหลักแหล่งของบริษัทที่เราจะทำการว่าจ้าง ก็จะช่วยให้เราประเมินความน่าเชื่อถือเบื้องต้นได้ ทั้งนี้การเข้าไปดูสภาพออฟฟิศ ก็ทำให้เราประเมินสภาพคล่องของบริษัทที่เราอาจจะว่าจ้างได้ในอนาคตอีกด้วย
3.เปรียบเทียบบริษัทรับสร้างบ้าน ด้วยเงื่อนไขการว่าจ้างที่ใกล้เคียงกัน
ในการเปรียบเทียบราคาที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างเสนอ ควรเปรียบเทียบบนพื้นฐานของขอบเขตงานที่ใกล้เคียงกันและวัสดุเทียบเท่ากัน ในทางปฏิบัติบริษัทรับสร้างบ้านแต่ละราย อาจจะมีเทคนิคในการนำเสนอแตกต่างกันไป เช่น บางรายต้องการเสนอราคาให้ต่ำ ก็อาจจะไม่ได้รวมงาน บางประเภทไว้ในการเสนอราคารอบแรก ทำให้ยอดรวมของราคาที่เสนอไปให้ผู้ว่าจ้างต่ำ ดูแล้วไม่แพง ซึ่งหากผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้าง บริษัทรับสร้างบ้านรายนี้ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่งอกเพิ่มขึ้นมาในการก่อสร้างภายหลัง ทำให้เกิดเป็นงบบานปลายขึ้นได้
4.สรุปขอบเขตงานการว่าจ้างให้ชัดเจน
การสรุปขอบเขตการจ้างงานในแต่ละส่วนมีความสำคัญ ช่วยลดการเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างได้ เนื่องจากหากไม่สรุปขอบเขตให้ชัดเจนแล้ว หากมีงานเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง ผู้รับจ้างก็อาจจะขอคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
5.ดูผลงานเพื่อประกอบการตัดสินใจในการว่าจ้าง
เราสามารถขอเยี่ยมชมไซต์งานที่กำลังก่อสร้างอยู่ของบริษัทรับสร้างบ้าน หรือหากไม่สะดวกหรือไม่มีเวลาก็สามารถสอบถามถึงโครงการหรือโปรเจคที่ทำไปแล้วได้
6.ตรวจสอบสัญญาก่อสร้างก่อนเริ่มงานให้ชัดเจน
สัญญาก่อสร้างที่ดีควรระบุวันเริ่มงาน วันที่คาดว่างานจะแล้วเสร็จ ขอบเขตการทำงาน งวดงานการจ่ายเงินที่ชัดเจนว่าควรจ่ายเงินเมื่อไหร่ เมื่องานแต่ละขั้นตอนแล้วเสร็จ โดยปริมาณเงินที่จ่ายไปควรจะสัมพันธ์กับปริมาณงานแต่ละงวดงาน นอกจากนี้การระบุการจ่ายเงินตามงวดงาน โดยอ้างอิงเปอร์เซ็นงานที่แล้วเสร็จ อจก่อให้เกิดข้อพิพาท โต้เถียงกันได้ ว่าแล้วเสร็จเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ถูกต้องตามที่แต่ละฝ่ายกล่าวกล่าวอ้างหรือไม่
แก้ไขความคิดเห็น