7 สิ่งอันตรายในบ้านที่เราไม่คาดคิด
By vLIVING PRO16 พฤศจิกายน 2567 04:38:45

สิ่งของรอบตัวในบ้านที่เราใช้กันอยู่ทุกวันบางที เราอาจจะไม่รู้เลยว่า

ที่ใช้ๆกันอยู่แฝงไปด้วยอันตรายมากน้่อยแค่ไหนวันนี้เรามาดุกันว่ามีอะไรบ้างนะ

 

 

1.สารเคมีใน Printer

                ปริ้นเตอร์ที่พิมพ์งานได้คมชัดจะปล่อยสารเคมี VOCs(สารระเหยง่ายในอากาสที่จัดว่าเป็นพิษ)

ออกมาในปริมาณที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ของคนใช้งานได้และมีความเกี่ยวพันกับการเกิดโรคหัวใจ

และโรคปอดขึ้นอยู่กับอายุของเครื่อง และส่วนประกอบอื่น ๆ ในเครื่องด้วย ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำมาใช้งาน

คือ สถานที่วาง ไม่ควรให้มีใครเข้าไปนั่งใกล้ ๆ เป็นระยะยาว โดยเฉพาะในสำนักงาน

 

 

2.สีที่มีสารตะกั่ว

                     จะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย ทั้งระบบ ประสาท สมอง เซลล์ เมื่อทาทิ้งไว้เป็นเวลานาน

มันจะลอกออกมาและเป็นอันตรายไม่ควรไปจับหรือแกะโดยมือโดยตรง

 

 

3.สารเคมีที่เป็นสเปรย์

                      สารเคมีในรูปสเปรย์ฉีดพ่นเช่นน้ำมันต่างๆมีเคมีทำปฏิกิริยาส่งผลต่อสุขภาพหากใช้ในที่แคบจะมี

สารพิษตกค้าง เพราะอากาศไม่ถ่ายเทอาจทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้ป่วย หากจะใช้ควรทำให้มีอากาศถ่ายเทจะดีกว่า

 

 

 

 

4.พลาสติก BPA

         BPA (Bisphenol) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก สามารถสร้างความ

ผิดปกติกับทางประสาทและการเจริญเติบโตของร่างกาย  เป็นสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็ง

ในต่อมลูกหมาก และส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย

 

 

5.ลูกเหม็น

                    จะสลายตัวเป็นก๊าซที่อาจจะเป็นอันตรายหากได้รับอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะไปทำลายเม็ดเลือดขาว

หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรหาภาชนะปิดมาไว้

 

 

6.ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้าน

                 ในบ้านเรือนไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง หรือ ยากำจัดแมลง ประเภท หนู มด แมลงสาป ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น

 

 

7.พรม

                สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตพรม เป็นสารระเหยไม่ดีต่อสุขภาพ หากได้รับปริมาณมากๆ   

พรมที่ผลิตมาใหม่จะมีสารดังกล่าวในปริมาณที่มากพอที่จะทำอันตรายต่อคนได้ เมื่อซื้อพรมมาใหม่ ก่อนนำเข้าบ้าน

ควรจะตากไว้ภายนอก 1-2วัน จึงนำมาใช้

 

 

8.เฟอร์นิเจอร์ไม้อัด

 

                 ได้รับความนิยมในการทำเฟอร์นิเจอร์มานานในการผลิตไม้อัดและการทำเฟอร์จะมีการใช้สารเคมีมากมาย

หากได้รับความร้อนและความชื้นอาจทำให้ระเหยออกมาทำให้เกิดอันตราย ต่อดวงตาและทางเดินหายใจ

 

 

 

 

ลองไปสังเกตรอบๆตัวเราดูนะคะว่ามีสิ่งของประเภทนี้อยู่ภายในบ้านหรือเปล่าทางที่ดีป้องกันไว้ก่อนดีกว่านะคะ

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • 6 วิธีเช็ฝ้าหลังคาง่ายๆ ได้ด้วยตาเปล่า วันนี้เรามีเคล็ดลับในการเช็คหลังคา มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน

  • รังวัด
    By vLIVING PRO27/12/2567

    การรังวัดที่ดิน

    ในการทำรังวัดจะต้องยื่นเรื่องขอให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน มาเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เพราะเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ที่หวงสิทธิในที่ดินของตนเอง จะทำการ รังวัดที่ดินในทุกๆ 10 ปี เพื่อเป็นการป้องกันการครอบครองปรปักษ์ ในส่วนของการยื่นเรื่องขอการรังวัดก็จะมีขั้นตอนและมีค่าใช้จ่ายในการรังวัดโฉนดที่ดินด้วย

    1.ตรวจสอบหลักฐานที่ดินที่ครอบครอง

         ที่ดินในประเทศไทย สามารถแบ่งออกไปได้หลายประเภทและการใช้ประโยชน์ แบ่งได้ออกเป็น ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ทีดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น แล้วที่ดินแต่ละประเภทนี้ก็จะมีเอกสารสิทธิ์ หรือ เอกสารต่างๆ แตกต่างกันไป ได้แก่

    • น.ส 3 เป็นหนังสือที่ได้การรับรองจากเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน แต่สิทธิ์ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ โดยหนังสือเป็นแบบธรรมดามีการรังวัด และจัดทำแผนที่ดิน

    • น.ส 3กเหมือนกับ น.ส3 จะแตกต่างกันที่มีการรังวัด และจัดทำแผนที่ของที่ดินจากภาพระวางรูปถ่ายทางอากาศ

    • นส.4 ครุฑสีแดงสามารถซื้อขาย จำนองได้ สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้

    2.ตรวจสอบพื้นดินรอบข้าง

    เจ้าของที่ดินควรจะทราบว่าพื้นที่รอบข้างที่ติดอยู่นั้นเป็นพื้นที่อะไร เช่น ติดกับพื้นที่สาธารณะไหม หรือเป็นที่ดินเปล่า สวน ไร่ นา หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

  •      จะปูกระเบื้องทับของเดิม ต้องเช็คอะไรก่อนบ้าง กระเบื้องเก่าอยากจะปูใหม่ ต้องเช็คอะไร วันนี้เรามีวิธีมาฝากกัน

     

     

    สิ่งที่ควรตรวจสอบก่อนจะปูกระเบื้องทับของเก่ามีดังนี้

    1.พื้นที่ที่ต้องการปูทับต้องมีระดับเดียวกันเสมอกันหมด หากไม่เรียบปูทับไปอาจทำให้เกิดปัญหาแนะนำให้รื้อออกแล้วปูใหม่จะดีกว่า

     

     

    2.ตรวจเช็คความลาดเอียง หากพื้นไม่ได้มาตรฐาน มีการระบายน้ำที่ไม่ดีเกิดเป็นแอ่ง ไม่ควรปูทับแด็ดขาด สำหรับห้องน้ำและระเบียง ควรจะทากันซึมให้เรียบร้อยก่อนการปูกระเบื้องทับจะดีกว่า

     

     

    3.ถ้ากระเบื้องเดิมเกิดการแตกร้าว บิ่น โก่ง หรือการยึดเกาะเดิมของกระเบื้องไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ควรจะปูกระเบื้องทับเด็ดขาด เพราะทำให้เกิดการรั่วซึมหรือกระเบื้องเดิมอาจจะแตกร้าวได้

     

    4.ไม่ควรปูทับกระเบื้องภายนอกเด็ดขาด เพราะอากาศจะทำให้กระเบื้องหลุดร่วงเป็นอันตรายได้

    5.เคาะเพื่อดูความแน่นของซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้อง หากมีเสียงโปร่งที่ขอบกระเบื้อง ไม่ควรปูทับ เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึม หรือกระเบื้องจะแตกร้าวได้

     

     

    ข้อดีและข้อเสียของการปูกระเบื้องทับของเดิม

    1.ช่วยประหยัดค่าแรงเพราะไม่ต้องทำการรื้อกระเบื้องเดิมออกและใช้เวลารวดเร็วในการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน

    ข้อเสีย

    1.พื้นมีความหนามากขึ้นตามความหนาของกระเบื้อง และกาวซีเมนต์ ทำให้ห้องดูแคบหรือเตี้ยลงได้ ทำให้มีผลกับบานประตูอาจจะต้องตัดข้างล่างออกเพื่อให้เปิดปิดได้หรืออาจจะต้องเปลี่ยนบานใหม่

     

    2.โครงสร้างอาจมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะพื้นที่ต่างๆวิศวกรได้คำนวณมาหมดแล้ว หากมีการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปอีก อาจจะทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงสำหรับบ้านที่ไม่แข็งแรงพอได้

     

    3.การยึดเกาะอาจไม่ดีเท่าที่ควร กระเบื้องแผ่นเก่าบางที่อาจเป็นผิวหน้าเรียบทำให้ไม่สามารถยึดเกาะปูนกาวได้ เพราะกระเบื้องที่มีความเรียบมันจะทำให้ยึกติดยากกว่าแบบหน้าหยาบทำให้กระเบื้องไม่ยึดติดและร่อนได้

    4.ช่างที่ทำบางคนอาจมีความถนัดไม่มากพอ เลยทำให้เกิดการปูกระเบื้องที่ไม่ดีได้

     

     

    5.ช่องใต้แผ่นกระเบื้อง หรือระหว่างกระบื้องแผ่นเดิมและแผ่นใหม่ หากเป็นส่วนที่ต้องเดิมน้ำตลอด เช่นห้องน้ำ อาจจะทำให้เกิดการขังของน้ำใต้กระเบื้อง หรือตามคราบยาแนว ทำให้เกิดเป็นเชื้อราทำให้ต้องรื้อและปูกระเบื้องใหม่

     

    ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์สำหรับปูทับกระเบื้องโดยเฉพาะ ที่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะตัวสูง จะทำให้กระเบื้องยึดติดกันได้แน่น และช่วยลดปัญหาการหลุดล่อน

  • สงสัยกันไหม คราบขาวๆบนผนังเกิดจากอะไร? คล้ายเป็นคราบเกลือบนพื้นผิวซีเมนต์  สาเหตุเกิดจากอะไร แล้ววิธีแก้ไข ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน 

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  • การ์ตูนซีรีย์ ตอนที่ 1  "ปูน"  ปูนมีหลายประเภท หลายชนิด และแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน มาดูกันดีกว่าว่า ปูนประเภทไหน เหมาะกับงานอะไรบ้าง?