รังวัด
By vLIVING PRO27 ธันวาคม 2567 09:53:05

การรังวัดที่ดิน

ในการทำรังวัดจะต้องยื่นเรื่องขอให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน มาเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เพราะเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ที่หวงสิทธิในที่ดินของตนเอง จะทำการ รังวัดที่ดินในทุกๆ 10 ปี เพื่อเป็นการป้องกันการครอบครองปรปักษ์ ในส่วนของการยื่นเรื่องขอการรังวัดก็จะมีขั้นตอนและมีค่าใช้จ่ายในการรังวัดโฉนดที่ดินด้วย

1.ตรวจสอบหลักฐานที่ดินที่ครอบครอง

     ที่ดินในประเทศไทย สามารถแบ่งออกไปได้หลายประเภทและการใช้ประโยชน์ แบ่งได้ออกเป็น ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ทีดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น แล้วที่ดินแต่ละประเภทนี้ก็จะมีเอกสารสิทธิ์ หรือ เอกสารต่างๆ แตกต่างกันไป ได้แก่

  • น.ส 3 เป็นหนังสือที่ได้การรับรองจากเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน แต่สิทธิ์ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ โดยหนังสือเป็นแบบธรรมดามีการรังวัด และจัดทำแผนที่ดิน

  • น.ส 3กเหมือนกับ น.ส3 จะแตกต่างกันที่มีการรังวัด และจัดทำแผนที่ของที่ดินจากภาพระวางรูปถ่ายทางอากาศ

  • นส.4 ครุฑสีแดงสามารถซื้อขาย จำนองได้ สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้

2.ตรวจสอบพื้นดินรอบข้าง

เจ้าของที่ดินควรจะทราบว่าพื้นที่รอบข้างที่ติดอยู่นั้นเป็นพื้นที่อะไร เช่น ติดกับพื้นที่สาธารณะไหม หรือเป็นที่ดินเปล่า สวน ไร่ นา หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • "หลังคา" เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะหลังคาช่วยปกป้องเราและตัวบ้านจากแดด ลม ฝน ดังนั้นควรเลือกรูปแบบของหลังคาให้เหมาะสมกับลักษณะของบ้าน สภาพแวดล้อม และอากาศด้วย  ส่วนหลังคาบ้านยอดฮิตจะมีรูปแบบใดบ้าง มาทำความรู้จักกันเลยดีกว่าค่ะ

     

      

     

     

     

     

     

     

     

    ในการติดตั้งหลังคา ควรคำนึงถึงความใส่ใจในความยากง่ายของการซ่อมบำรุงในอนาคต และควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบของหลังคาให้เหมาะสมกับบ้านของเราด้วยนะคะ

  • เข้าลิ้น.....เคยได้ยินไหมครับคำนี้ ประโยชน์ของการเข้าลิ้นมีเยอะเหลือเกินวันนี้ผมมีข้อมูลมาฝากครับ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  •        พูดถึงที่ดินก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะถือว่าเป็นหลักปัจจัย 4 ในการดำรงชีพของมนุษย์ ไว้เป็นที่อยู่อาศัยพึ่งพิงแล้วหากเรามีที่ดินเปล่าที่ยังไม่คิดจะใช้งานในที่ดินผืนนี้ เราควรจะรักษาสิทธิ์อย่างไรบ้างวันนี้เรามาดูกันว่า การดูแลที่ดินที่เราได้ซื้อไว้แล้วยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างมาดูกัน

     

     

    ควรไปดูแลที่ดินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ปล่อยไว้เป็นที่รกร้าง

     

     

    2.หากไปดูที่ดินแล้วควรสอบถาม ชาวบ้านบริเวณนั้น ว่าที่ดินมีใครเข้ามาบุกรุกหรือเข้ามาวุ่นวายไหม

     

     

    3.ตรวจสอบหลักหมุดว่ามีการชำรุดหรือมีการเคลื่อนย้ายไหม  หากหลักหมุดหายไปสิ่งที่ควรทำคือ

    3.1แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดี(ไม่ใช่แจ้งเป็นหลักฐานแค่ลงบันทึกประจำวัน)เพราะการทำลายหลักหมุดเป็นคดีอาญา

    3.2แจ้งที่ดินเพื่อดำเนินการสอบหมุดรังวัดใหม่

     

     

    4.รังวัดที่ดินในทุกๆ5 ปี เพราะที่ดินอาจจะเพิ่มหรือลดได้ ยิ่งที่ดินอยู่ริมแม่น้ำหรือริมตลิ่ง

     

    5.หากมีคนเข้ามาอาศัยในพื้นที่เรา ควรเข้าไปเจรจาว่าเค้ารุกล้ำที่ดินของเราอยู่  หากเค้าต้องการที่จะเช่าหรือซื้อก็ควรจะเจรจาให้เรียบร้อยไม่ใช่มาบุกรุกที่ดินคนอื่น

     

     

    6.ที่ดินควรล้อมรั้วเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่าเป็นที่ดินมีเจ้าของ

     

    7.ติดป้ายไว้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อให้ได้รู้ว่าไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ ไม่ให้ใครมารุกล้ำ

     

     

    8.คอยเช็คดูว่ามีร่องรอยของทางเดินรถผ่านไหม เพราะที่ดินอาจโดนใช้เป็นทางผ่านรถไปได้หากเราไม่เข้าไปดูแล

     

     

    คนที่เป็นเจ้าของไม่ควรปล่อยที่ดินไว้โดยไม่ได้ไประบุ ว่าเป็นที่ดินของตนเอง เพราะหากเราปล่อยไว้อาจจะมีคนเข้ามาใช้ประโยชน์บนที่ดินของเรา เพราะอาจจะเกิดการครอบครองปรปักษ์ได้   การครอบครองปรปักษ์ คือการแย่งกรรมสิทธิ์ ของเจ้าของที่ดินโดยการเข้าไปในที่ดินที่มีฉโนดของผู้อื่นโดยสงบหรือเปิดเผย ด้วยการแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของและได้ใช้ประโยชน์ติดต่อมาถึง 10 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วคนนั้นจะได้เป็นเจ้าของโดยทันทีเพราะเหตุนี้เราจึงต้องเข้าไปดูที่ดินว่างเปล่าที่เราคิดว่าไม่มีประโยชน์บ่อยๆนะครับ

  •  

     

    เมื่อฤดูฝนใกล้เข้าบ้านหลายๆหลังอาจต้องพบเจอกับปัญหารอยรั่วซึมจากพื้นที่ต่างๆรอบบ้านที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งรอยรั่วจากหน้าต่างก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำซึมเข้าบ้าน และเกิดความเสียหายกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ ทั้งผนัง พื้น และเฟอร์นิเจอร์ ที่อยู่ใกล้กับบริเวณหน้าต่าง ซึ่งก่อนที่จะทำการซ่อมแซมได้นั้น ต้องสำรวจก่อนว่ามีรอยรั่วอยู่บริเวณใดบ้าง

     

    วิธีสังเกตรอยรั่วที่หน้าต่าง มีดังนี้

     

     

     

    1. ตรวจสอบการติดตั้งกระจก ว่ามีความแน่นหนาดีหรือไม่ ถ้ากระจกขยับได้แสดงว่าติดตั้งไม่แน่ นอกจากนี้ ให้ดูว่ามีรอยแตกราวหรือไม่

    วิธีแก้ไข คือ ควรเปลี่ยนกระจกใหม่

    1. ตรวจดูว่ามีแสงลอดผ่านขณะปิดหน้าต่างหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าหน้าต่างเกิดรอยรั่ว

    วิธีแก้ไข คือ ควรใช้ซิลิโคนอุดรอยรั่วเล็กๆน้อยๆ ตามขอบหน้าต่าง โดยบีบอัดซิลิโคนตามแนวรอยต่อของขอบหน้าต่าง ทั้งด้านนอกและด้านใน

    1. สังเกตรอยคราบเหลือง หรือรอยน้ำซึมใต้ขอบหน้าต่าง และผนังรอบๆ ว่ามีช่องว่างระหว่างวงกบกับผนังปูนหรือไม่ และอาจพบว่าหน้าต่างบวม เบี้ยว หรือปิดไม่สนิท จึงทำให้น้ำไหลย้อนเข้าบ้าน

    วิธีแก้ไข คือ สกัดเปิดผิวหน้าปูนรอบวงกบด้านนอกให้กว้างอย่างน้อย 1 เซนติเมตร แล้วใช้โพลียูรีเทน ฉีด อัดรอบวงกบ จากนั้นแต่งหน้าให้เรียบ แล้วทาสีทับเพื่อความสวยงามเรียบร้อย

    1. แผ่นยางกันน้ำตรงขอบหน้าต่างเสื่อมสภาพ เนื่องจากใช้งานมาเป็นเวลานาน

    วิธีแก้ไข คือ เปลี่ยนแผ่นยางกันน้ำที่ขอบหน้าต่างใหม่ โดยลอกแผ่นยางอันเก่าออก ควรใช้แผ่นยางที่มีขนาด และความหนาเท่าของเดิม

    1. ขอบวงกบอลูมิเนียมหน้าต่างไม่มีรูระบายน้ำ ทำให้น้ำขัง เอ่อล้น และไหลเข้าบ้าน

    วิธีแก้ไข คือ เจาะรูระบายนำที่กล่อง หรือวงกบด้านนอก เพื่อระบายน้ำฝนไม่ให้ไหลย้อนเข้าบ้าน

     

     

     

    ข้อแนะนำเพิ่มเติม หน้าต่างควรทำปีกกันสาดเล็กๆ เพื่อป้องกันฝนสาดด้วย

     

    ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถป้องกันฝนสาด จากการที่น้ำซึมเข้าทางหน้าต่างได้  ก่อนที่จะเข้าสู่หน้าฝน เราควรสนใจและใส่ใจซ่อมแซมบำรุงรักษาบ้านของเรา  เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และไม่ต้องปวดหัว ทำให้เสียสุขภาพจิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำรั่วซึมอีกด้วย

     

    ขอบคุณภาพประกอบจาก Pinterest

  • หน้าบัน ช่วยป้องกันแดด และฝนไม่ให้เข้าไปภายในตัวอาคาร แถมยังมีความสวยงามอีกด้วยค่ะ สำหรับบ้านเรือนทั่วไปจะเรียกว่า "หน้าจั่ว" หน้าบัน มีลักษณะอย่างไร และอยู่ส่วนไหนของตัวอาคาร เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันค่ะ

     

     

    หน้าบัน มีลักษณะที่หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาคารก่อสร้างของแต่ละศาสนา และแต่ละรูปแบบของอาคารบ้านเรือน ซึ่งมีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วยค่ะ