บังใบเป็นสิ่งสำคัญของวงกบ และประตู เรามาดูกันค่ะว่า บังใบคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
บังใบเป็นสิ่งสำคัญของวงกบ และประตู เรามาดูกันค่ะว่า บังใบคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
หลายคนคงประสบกับปัญหาคราบ และกลิ่นฉี่ของเจ้าหมา แมวที่ติดอยู่บนพื้น หรือตามผนังบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาหนักใจสำหรับผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้เป็นเพื่อนคลายเหงา เพราะกลิ่นฉี่ของเจ้าสัตว์เหล่านี้ช่างเหม็นฉุนกวนใจ โดยเฉพาะเมื่อมีแขก หรือผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยือนคงจะไม่ดีแน่ วันนี้เราจึงขอนำเสนอวิธีการกำจัดกลิ่นฉี่ของน้องหมา น้องแมวแบบเทพให้ได้ทราบกัน รับรองว่าปลอดภัยและไม่รุนแรงต่อสัตว์อย่างแน่นอนค่ะ
เห็นไหมคะว่า การดูแลบ้านให้ปราศจากกลิ่นเหม็น และคราบฉี่ของน้องหมา น้องแมวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราต้องรู้วิธีทำความสะอาดที่ถูกต้อง และหมั่นดูแลทำความสะอาดบ่อยๆ รวมถึงฝึกน้องหมา น้องแมวให้รู้จักฉี่เป็นที่เป็นทาง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดีต่อตัวเอง และสัตว์เลี้ยงตัวโปรดแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแขก หรือญาติผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยือนอีกด้วยค่ะ
หลอดไฟมีรูปร่างที่สวยงามในตัวของมันเองแตกต่างกัน น่าเสียดายที่เรามักจะทิ้งไปเมื่อหมดสภาพ ใช้งานไม่ได้ เรามาหาวิธีเปลี่ยนหลอดไฟเก่าที่หมดไฟแล้ว ให้กลับมาสวยงาม มีชีวิตชีวากันเถอะค่ะ มาดูไอเดียที่จะทำให้หลอดไฟเก่าๆ เหล่านี้ กลายเป็นของใช้เด็ดๆ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์กันค่ะ
1. ตู้ปลาจากหลอดไฟเก่า
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจอยากจะลองทำ ขอแนะนำให้ใช้หลอดไฟที่มีขนาดใหญ่พอสมควร น้องปลาจะได้ไม่อึกอัด อยู่ได้อย่างสบาย มีความสุข และควรเลือกปลาที่มีขนาดเล็ก ทน หรือปลาชนิดที่สามารถอยู่ในที่แคบๆได้ อย่างเช่น ปลากัด ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการทรมานปลาได้ค่ะ
2. ตระเกียงแต่งบ้านสุดโรแมนติก
หลอดไฟเก่าก็สามารถนำมาเป็นเชิงเทียน หรือตระเกียงได้นะ สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี และทำให้หลอดไฟเก่ากลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง เพียงแค่เจาะรู แล้วร้อยไส้เทียนลงไปในหลอดไฟ จากนั้นเติมน้ำมันพืช หรือน้ำมันตะเกียงลงไป แค่นี้หลอดไฟเก่าที่หมดไฟ ก็กลายเป็นตระเกียงที่ให้แสงสว่าง สวยงาม เพิ่มความโรแมนติกให้กับบ้าน หรือมุมโปรดของคุณได้อย่างดีเยี่ยม
3. สวนจิ๋วในหลอดไฟเก่า
หากใครที่มีความชื่นชอบสวนขวด ฟังทางนี้ค่ะ เราสามารถนำต้นไม้จิ๋วมาปลูกในหลอดไฟเก่าได้ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นของตกแต่งบ้านที่เก๋ไก๋ น่ารัก เหมาะสำหรับนำไปวางตามมุมต่างๆ ของบ้านได้เลย
4. แจกันดอกไม้แขวน
สามารถนำหลอดไฟเก่ามาใช้เป็นแจกันสำหรับใส่ดอกไม้ หรืออาจตกแต่งสีสรรให้สวยงามเพิ่มเติมตามใจชอบก็ได้ แล้วนำไปแขวนตกแต่งตามมุมหน้าต่าง บริเวณสวนหย่อม หรือแขวนตามต้นไม้ เพิ่มความน่ารัก สดใสให้กับบ้าน
5. แจกันใส่ดอกไม้ตั้งโต๊ะเก๋ๆ
นำหลอดไฟเก่าที่ที่หมดไฟ มาแปลงโฉมให้เป็นแจกันดอกไม้สุดน่ารัก วางประดับตกแต่งไว้ตามจุดต่างๆของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องรับแขก ห้องครัว หรือแม้กระทั่งห้องน้ำ ช่วยเพิ่มความสดใส สดชื่นได้ดี และนำดอกไม้ที่มีสีสันสดใส หรือดอกไม้สุดโปรดมาใส่ในแจกันหลอดไฟใบสวยของเราได้เลย
6. แจกันหลอดไฟใช้ปลูกพลูด่างแบบชิคๆ
ปกติแล้วเราจะปลูกต้นพลูด่างในแจกันหรือกระถางปลูกต้นไม้ทั่วไป คราวนี้ลองเปลี่ยนมาปลูกในหลอดไฟเก่าดูบ้างสิคะ แล้วจะเห็นว่าพลูด่างในหลอดไฟเก่าก็สวยงาม เก๋ไก๋ แปลกตา ไม่แพ้กันเลยทีเดียว
7. สวนหลอดไฟแบบแขวน
นอกจากจะใช้หลอดไฟเก่านำมาเป็นสวนจิ๋วแบบตั้งโชว์แล้ว เรายังสามารถนำมาทำเป็นสวนแบบแขวนได้อีกด้วย แล้วนำไปใช้ตกแต่งตามมุมโปรดของบ้านได้ตามต้องการ เช่น หน้าต่าง สวนหย่อม หรือต้นไม้ เพิ่มความน่าสนใจ สดชื่น สบายตาให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี
8. แจกันดอกไม้ติดผนัง
แจกันสำหรับใส่ดอกไม้ ต้นไม้ที่ทำจากหลอดไฟเก่า แต่เพิ่มความเก๋ไก๋ด้วยการติดที่ผนัง กลายเป็นของแต่งบ้านที่ดูสวยงาม สดชื่น สำหรับผู้ที่พบเห็น หรือเดินผ่านไปมา อีกทั้งยังเป็นการใช้ของที่ไร้ประโยชน์ให้กลับมามีคุณค่ามากขึ้นด้วย
9. ใช้ทำของแต่งบ้านสวยๆ
เป็นของแขวน ของตกแต่ง ประดับประดา ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับบ้าน รวมทั้งอาจทำเป็นของตกแต่งตามเทศกาล หรือในโอกาสต่างๆได้อย่างดี แถมยังไม่เหมือนใครอีกด้วย และเป็นการนำของเหลือใช้มาทำประโยชน์ ไม่ต้องทิ้งให้เป็นขยะไร้ค่า
ไอเดีย DIY หลอดไฟเก่าเหล่านี้ เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ มีความสวยงาม ประหยัด และน่าสนใจ ดังนั้นต่อไปหากหลอดไฟที่บ้านเสีย ใช้งานไม่ได้แล้ว ก็อย่าทิ้งนะคะ นำกลับมาทำให้เป็นของตกแต่งบ้านสุดชิค และมีประโยชน์กันดีกว่า
หน้าร้อนแบบนี้ สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดไม่ใช่การกังวลแค่อากาศร้อน แต่บ้านไหนที่มีสัตว์เลี้ยง เช่นน้องหมาหรือน้องแมว ก็น่าเป็นห่วงไม่น้อยเช่นกัน หากเราปล่อยไว้ในที่อากาศร้อนมากๆ อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการ “ฮีทสโตรก” คือร่างกายปรับตัวไม่ทันกับอากาศที่ร้อน อาจเกิดจากการออกกำลังกายมากๆในช่วงหน้าร้อน หรือการขาดน้ำ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจนเกินไปเป็นเวลานานๆ ร่างกายไม่สามารถที่จะปรับระบบระบายความร้อนได้ทันที
สุนัข
ร่างกายของสุนัขจะไม่มีต่อมเหงื่อตามรูขุมขนเหมือนมนุษย์อย่างเราๆ จึงสังเกตกันไหมว่า สุนัขจะชอบทำลิ้นห้อยอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นการระบายความร้อนนั่นเอง
หากสุนัขไม่สามารถ ระบายอากาศได้ทันจะมีอาการหายใจแรง หอบ และน้ำลายเยอะ เหงือกแดง หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก อาเจียนออกเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด มีจุดแดงตามร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก อุณหภูมิร่างกายสูง จนเกิดอาการชัก หยุดหายใจและตายได้ ควรรีบนำไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
วิธีการปฐมพยาบาล
ลดอุณหภูมิโดยการนำน้ำมาชโลมให้ทั่วร่างกายหรือใช้สารระเหยที่ทำให้เกิดความเย็นเช่นแอลกฮอล์มาเช็ดที่อุ้งเท้า ใต้รักแร้ และขาหนีบ หลังจากนั้นเปิดพัดลมจ่อเพื่อระบายความร้อน
วิธีป้องกัน
1.อย่าให้น้ำขาด มีน้ำให้กินตลอดเวลา
2.ไม่พาออกกำลังกายในที่มีอากาศร้อนจัดๆหาที่หลบแดดให้อยู่ในช่วงกลางวัน
3.ห้ามทิ้งสุนัขไว้ในรถเด็ดขาด หากจำเป็นควรจอดไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือทำการเปิดกระจกให้มีอากาศและมีน้ำดื่มทิ้งไว้ให้ด้วย
4.หากจะให้อาหารในที่แจ้ง ควรเลือกให้เวลาที่พระอาทิตย์ตก เนื่องจากสุนัขไม่กินอาหารถ้าอากาศร้อน
5.หากร้อนเกินไปอาบน้ำหรือราดน้ำให้ทั่วตัวปล่อยให้ตัวแห้งหมาดๆเพื่อให้ร่างกายมีความเย็นอยู่
6.ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดปูนอนตอนกลางวัน หรือใช้พัดลมเป่า
แมว
แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำเอามากๆ หากจะเอาไปอาบน้ำก็คงจะไม่ได้ มาดูวิธีคลายร้อนให้แมวกัน
1.วางก้อนน้ำแข็งไว้ใกล้ๆแมว
หากวันไหนที่อากาศร้อนจัดๆแล้วต้องออกไปนอกบ้านหรือไม่อยู่บ้านไม่มีเวลาดูแล ให้นำน้ำแข็งมาใส่จานน้ำของน้องแมวเพื่อให้ดื่มคลายร้อนระหว่างวัน
2.เปิด-ปิดแอร์เมื่อไม่อยู่บ้าน
ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ทั้งวันเพียงแค่ตั้งเวลา เปิด ปิดไว้ ในช่วงที่ร้อนที่สุด ระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง หากกลัวจะร้อนไปอีกก็สามารถเปิดพัดลมเพื่อให้มีลมหมุนเวียนไปด้วยก็ได้
3.เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
น้ำที่น้องแมวดื่มควรสะอาดและเย็นเสมอ และควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ
4.ตัดขน
ถ้าน้ำแมวของคุณเป็นพันธ์ที่มีขนยาวหนา แนะนำให้ตัดขนส่วนลำตัวให้สั้นแล้วเหลือหัวไว้
หน้าร้อนแบบนี้เป็นอันตรายกับสัตว์เลี้ยงมาก หากไม่อยากให้สัตว์เลี้ยงของเราเกิดอาการฮีทสโตรกก็ควรจะดูแลเยอะมากกว่าปกติ เพราะสัตว์ก็ร้อนเหมือนคนเช่นกัน
เมื่อฤดูฝนใกล้เข้าบ้านหลายๆหลังอาจต้องพบเจอกับปัญหารอยรั่วซึมจากพื้นที่ต่างๆรอบบ้านที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งรอยรั่วจากหน้าต่างก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำซึมเข้าบ้าน และเกิดความเสียหายกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ ทั้งผนัง พื้น และเฟอร์นิเจอร์ ที่อยู่ใกล้กับบริเวณหน้าต่าง ซึ่งก่อนที่จะทำการซ่อมแซมได้นั้น ต้องสำรวจก่อนว่ามีรอยรั่วอยู่บริเวณใดบ้าง
วิธีสังเกตรอยรั่วที่หน้าต่าง มีดังนี้
วิธีแก้ไข คือ ควรเปลี่ยนกระจกใหม่
วิธีแก้ไข คือ ควรใช้ซิลิโคนอุดรอยรั่วเล็กๆน้อยๆ ตามขอบหน้าต่าง โดยบีบอัดซิลิโคนตามแนวรอยต่อของขอบหน้าต่าง ทั้งด้านนอกและด้านใน
วิธีแก้ไข คือ สกัดเปิดผิวหน้าปูนรอบวงกบด้านนอกให้กว้างอย่างน้อย 1 เซนติเมตร แล้วใช้โพลียูรีเทน ฉีด อัดรอบวงกบ จากนั้นแต่งหน้าให้เรียบ แล้วทาสีทับเพื่อความสวยงามเรียบร้อย
วิธีแก้ไข คือ เปลี่ยนแผ่นยางกันน้ำที่ขอบหน้าต่างใหม่ โดยลอกแผ่นยางอันเก่าออก ควรใช้แผ่นยางที่มีขนาด และความหนาเท่าของเดิม
วิธีแก้ไข คือ เจาะรูระบายนำที่กล่อง หรือวงกบด้านนอก เพื่อระบายน้ำฝนไม่ให้ไหลย้อนเข้าบ้าน
ข้อแนะนำเพิ่มเติม หน้าต่างควรทำปีกกันสาดเล็กๆ เพื่อป้องกันฝนสาดด้วย
ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถป้องกันฝนสาด จากการที่น้ำซึมเข้าทางหน้าต่างได้ ก่อนที่จะเข้าสู่หน้าฝน เราควรสนใจและใส่ใจซ่อมแซมบำรุงรักษาบ้านของเรา เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และไม่ต้องปวดหัว ทำให้เสียสุขภาพจิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำรั่วซึมอีกด้วย
ขอบคุณภาพประกอบจาก Pinterest
หลังคา เป็นส่วนที่ช่วยปกป้องความร้อน แดด และฝนให้กับบ้านของเรา ดังนั้นโครงหลังคาจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องสามารถรองรับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม และการติดตั้งอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ได้หลังคามีความคงทนแข็งแรงด้วย
ส่วนประกอบของโครงหลังคา
1. แป หรือระแนง Batten คือ ไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน เพื่อรองรับกระเบื้องหลังคาประเภทต่างๆ และวางห่างกันตามขนาดของกระเบื้องที่ใช้ โดยวางขนานกับแนวอกไก่
2. จันทัน Rafter คือ ส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา พาดอยู่บนอเส และอกไก่ เพื่อรองรับแปสำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา จันทัน มีทั้งที่วางอยู่บนหัวเสา และที่ไม่ได้วางพาดอยู่บนหัวเสา โดยทั่วไปจันทันจะวางเป็นระยะทุกๆ 1 เมตร โดยระยะห่างของจันทัน จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแปด้วย
3. อกไก่ Ridge เปรียบเหมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคาทรงจั่วหรือทรงปั้นหยา จะวางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนักจันทันตามแนวสันหลังคา
4. ดั้ง King Post คือ ส่วนที่อยู่ในแนวสันหลังคา ซึ่งอยู่บนขื่อ เพื่อรองรับอกไก่แทนเสาจริงของอาคารโดยมีอกไก่วางพาดตามแนวสันหลังคาเป็นตัวยึด โดยทั่วไป
5. ขื่อ Tie Beam หรือเรียกว่า สะพานรับดั้ง คือ ส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสา ในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสา และช่วยยึดโครงผนัง
6. อเส Stud Beam คือ ส่วนของหลังคาที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ช่วยยึดและรัดหัวเสา รวมทั้งช่วยรับแรงจากโครงหลังคาที่ถ่ายลงสู่เสา โดยทั่วไปอเสมักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา
7. เชิงชาย Eaves คือ ไม้ที่ใช้ปิดปลายของจันทันทุกตัวตามแนวชายคามีไม้ปิดเป็นลอน ซ้อนทับเชิงชายและปิดช่องโค้งใต้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา และช่วยปรับแนวชายคาที่ยึดหัวจันทันให้เป็นแนวตรง สวยงาม รวมทั้งช่วยป้องกันการผุเปื่อยของไม้ที่ปลายจันทัน
8. ปั้นลม Eaves คือ ส่วนที่ใช้ปิดหัวท้ายบริเวณริมโครงสร้างหลังคาจั่ว พาดอยู่บนหัวแป และด้านล่างของครอบข้างหลังคาช่วยกันลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยกันน้ำฝนไม่ให้เข้าในบ้าน ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้จริง หรือไม้สังเคราะห์
หลังคาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้าน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ถูกต้อง และรอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น การซ่อมแซมจะค่อนข้างยุ่งยาก
ข้อกำหนด
ทดสอบ :O)
123 ถนนอยู่สุข เขตอยู่สุข กรุงเทพฯ 10000
02-123-4567
support@vlivingpro.com
แก้ไขความคิดเห็น