บ้าน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตที่ทุกคนใฝ่ฝันว่าจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ก่อนจะสร้างบ้านสักหลัง เรามาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยหลักๆก่อนที่จะสร้างบ้านมีอะไรบ้าง
1.ทำเลสถานที่ก่อสร้าง
การสร้างบ้านค่าก่อสร้างแต่ละจังหวัดอาจจะไม่เท่ากัน เพราะมีปัจจัยคือ ค่าครองชีพ ค่าแรง และค่าวัสดุเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือบางจังหวัดที่ สามารถหาผู้รับเหมามาตีราคาได้ง่ายก็ทำให้ต่อราคาได้มาก หากเป็นบางจังหวัดที่มีผู้รับเหมาน้อย หรือมาจากพื้นที่อื่นก็อาจจะทำให้มีค่าใช้จ่าย เรื่องการเดินทาง สูงขึ้นจากเดิม
บ้านที่อยู่ในตัวเมือง มีแนวโน้มค่าก่อสร้างสูงกว่าบ้านชานเมือง เพราะ การขนส่งของ จำพวกวัสดุก่อสร้างชิ้นใหญ่ๆ เช่น เสาเข็ม ทำได้ยากกว่า ที่จอดรถน้อยกว่า หรือที่ว่างหายากกว่า ทำให้ไม่สามารถปลูกแคมป์ ที่พักคนงานบริเวณ ไซท์งานได้ ทำให้ผู้รับเหมาต้องหาเช่าที่ข้างนอกให้คนงานพัก แล้วยังอาจต้องมีค่ารถขนส่ง คนงานเข้าไซท์งาน อีกด้วย
2. ลักษณะพื้นที่หน้างานก่อสร้าง
ถ้าสร้างเต็มพื้นที่ และในระแวกใกล้เคียง ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับกองของ ค่าก่อสร้างอาจจะแพงกว่าปกติ เนื่องจากการที่ไม่มีพื้นที่กองของ ทำให้การสั่งซื้อของเข้า ไซท์งาน อาจต้องทยอยสั่ง เข้ามาทีละน้อย ราคาต่อหน่วยของวัสดุก่อสร้าง จึงแพงกว่า กรณีสั่งของมาดั๊มป์หน้างาน
3.ยี่ห้อ รุ่น สเปค วัสดุก่อสร้างที่ใช้
วัสดุประเภทเดียวกัน แต่คนละยี่ห้อ ราคาก็ต่างกัน หรือแม้ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นต่างกัน ก็อาจจะ ก็มีราคาไม่เท่ากันตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น กระเบื้องปูพื้น ซึ่งราคามีความแตกต่างค่อนข้างมาก
และก็ขึ้นอยู่กับกับปัจจัยหลายอย่างของตัววัสดุยกตัวอย่างเช่น...
- ชนิดหลังคา ความหนาฉนวนกันความร้อน
หากเป็นแผ่นกระเบื้อง ก็ขึ้นอยู่กับ
- ลวดลาย
- ผิวสัมผัส
- ขนาดแผ่นกระเบื้อง (ยิ่งแผ่นใหญ่ยิ่งแพง )
- ยี่ห้อ
ราคาอาจเริ่มตั้งแต่ ตร.ม. หลักร้อย จนถึง หลักหลายพัน ดังนั้น เวลาสร้างบ้าน ยิ่งพื้นที่บ้านเยอะ ราคาค่าวัสดุต่อตารางเมตรเลยยิ่งทวีคูณ ทำให้ค่าสร้างบ้าน โดดแพงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
4. ประสบการณ์ของทีมงานก่อสร้าง (ผู้รับเหมา หรือทีมช่าง)
ช่างที่ทำงานมานาน หรือทำงานเฉพาะทาง มักจะมีค่าแรงแพงกว่าช่างที่เพิ่งมาทำงานใหม่ หรืออาจจะยังไม่มีความชำนาญในสายงาน ดังนั้น ในการจ้างทีมงานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงาน เจ้าของบ้านก็อาจจะต้อง จ่ายแพงกว่า เพื่อแลกกับคุณภาพงานก่อสร้าง
แต่ก็ยังคุ้มค่ากว่า การเลือกใช้ผู้รับเหมาที่ค่าแรงถูก แต่งานที่ได้ออกมา เละ ไม่ตรงตามคุณภาพ มาตรฐาน แถมยังเสียค่าของ ที่ต้องซื้อมา เปลี่ยน ทดแทนของเดิม นอกจากนี้ ยังมีค่าแรงรื้อถอน ทุบทิ้ง แก้ไข ซ่อมแซม และคุณภาพของงานที่แก้แล้ว อาจได้ไม่ดีเหมือนการทำให้ดีตั้งแต่แรกอีกด้วย
5.ลักษณะแบบบ้าน
แน่นอนว่า แบบบ้านก็มีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้าง ถูกหรือแพงได้เช่นกัน เช่น บ้านที่เน้นดีไซน์เรียบง่าย เป็นกล่องๆ สไตล์โมเดิร์น ช่างจะทำงานง่าย เพราะ ไม่ค่อยมีลวดลาย โค้ง เว้า ไม่ค่อยเน้น การติดตั้งบัวปูน ตามผนังมากนัก
บางหลังเลือกใช้หลังคาเมทัลชีท ซึ่งมีน้ำหนัก ที่เบามาก เมื่อเทียบกับบ้านปกติ ที่หลังคาเป็น กระเบื้องลอนคู่ หรือกระเบื้องคอนกรีต ทำให้ประหยัดในเรื่องค่าโครงสร้างที่ไม่ต้อง รับน้ำหนักมากนัก และช่างก็ทำงานง่าย เพราะการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากอีกด้วย บ้านบางหลัง เลือกใช้ประตู หน้าต่างขนาดใหญ่ เพื่อให้ดูโปร่ง หรูหรา ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้าง แพงขึ้นเยอะ เพราะอาจต้องใช้เป็นการสั่งทำ
พิเศษจากโรงงาน
ดังนั้น เจ้าของบ้านที่ต้องการประหยัด อาจจะต้องย้ำกับคนออกแบบให้เลือกใช้ วัสดุมาตรฐาน หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด มาติดตั้งให้บ้านของเรา
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจก บานใหญ่มากๆ ซึ่งเราอาจจะปรับแบบประตู หรือหน้าต่าง โดยเลือกใช้ การใช้เฟรมกระจก มาซอยคั่นกลาง เพื่อลดขนาด และความหนา ของกระจกลง ทำให้ค่ากระจก และค่าแรง
ในการยกติดตั้ง ที่หน้างานถูกลงไปเยอะอีกด้วย
6. เรื่องคนคุมงาน
หลาย ๆ คนไม่รู้ว่า ราคาที่ผู้รับเหมาเสนอมาแต่ละเจ้า ถูกหรือแพง ต่างกันมาก ๆ ส่วนนึงก็มาจากค่าใช้จ่าย ค่าตัว ค่าเสียเวลาในการดูแล ควบคุมงานของผู้รับเหมา เช่นกัน
การควบคุมคุณภาพงานที่ดี และสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เจ้าของบ้านได้รับบ้านที่มีความแข็งแรง ได้มาตรฐานถูกต้องตามแบบ เสร็จตามกำหนดเวลา และไม่มีปัญหาหลังจากอยู่อาศัยไปแล้วบริษัทที่รับออกแบบพร้อมสร้างบางราย (ไม่ใช่ทุกราย) มีความชำนาญ ด้านการออกแบบอย่างเดียว แต่หาผู้รับเหมา มารับงานต่อเพื่อกินหัวคิว โดยที่บริษัทอาจจะไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในงานก่อสร้างเพียงพอ จึงไม่ได้เผื่อเรื่องของ ค่าใช้จ่าย ในการควบคุมคุณภาพงาน ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำงานตามใจฉัน
ในหลายๆครั้ง การที่บริษัทออกแบบไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพการทำงานของผู้รับเหมาได้ เนื่องจาก ไม่ใช่ทีมงานของบริษัทเอง เมื่อเวลาถึงงวดส่งงาน แล้วงานไม่ผ่าน ผู้รับเหมาก็เลยทิ้งงานไปก็มีเยอะ หรือในบางกรณี ตัวผู้รัเหมาเอง อาจจะรับงานซ้อน ไว้หลาย ๆ เจ้า ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง บางเจ้าตอนเช้าอาจจะเอาคนงานไปทิ้งไว้ ให้ทำงาน แล้วเย็นก็มารับกลับ หรือบางไซท์งานที่สามารถปลูกแคมป์ที่พัก คนงานได้ ผู้รับเหมาอาจไม่ได้เข้ามาดูแลบ่อย ๆ ไม่ได้มีคนคุมงาน สัปดาห์นึงอาจจะเข้าครั้งนึง หรือบางสัปดาห์อาจไม่ได้เข้าเลย
ดังนั้น ในการเลือกผู้รับเหมา เราอาจต้องพิจารณาเรื่อง ความถี่ของการคุมงาน ในการเข้าตรวจสอบหน้างานของผู้รับเหมาด้วย รวมถึงความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่รับผิดชอบดูแล ตรงนี้จะช่วยได้มาก
หลังจากดูภาพรวมปัจจัยหลักในการก่อสร้างมาทั้งหมดแล้ว ก็สามารถนำหลักเกณฑ์เหล่านี้ไปเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจและดูงาน เพื่อให้บ้านของเรามีความสมบูรณ์ที่สุดนะครับ
แก้ไขความคิดเห็น