ขจัดคราบฝังลึกในกระเบื้องห้องน้ำ
By vLIVING PRO16 สิงหาคม 2561 17:20:51

 

 ห้องน้ำเป็นสิ่งสำคัญอีก ห้องหนึ่งในบ้านของเรา หากเรารักษาความสะอาดให้ดี ห้องน้ำก็จะเป็นที่ๆไม่เกิดเชื้อรา

และกลิ่นอับมากมาย และกระเบื้องนี่แหละ ที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ดี ไม่ว่าจะเป็นคราบสบู่ หรือคราบน้ำ

วันนี้เรามีวิธีในการขจัดคราบง่ายๆโดยไม่ใช้สารเคมีมาฝากกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • หน้าร้อนมาเยือนแล้ว อากาศก็แสนจะร้อนอบอ้าว และอุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี การติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่หลายๆ บ้านใช้ในการแก้ปัญหา ผมมีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อ การใช้แอร์ และการดูแลรักษาแอร์ ที่ถูกต้องมาฝากครับ

     

    ควรเลือกใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และจุดที่ทำจะติดตั้งแอร์ ต้องสามารถกระจายควรเย็นได้ทั่วทั้งห้อง

     

    ไม่ควรติดแอร์ด้านที่มีแสงแดดส่องแรงๆ เพราะจะทำให้แอร์ทำงานหนัก สิ้นเปลืองพลังงาน และต้องเสียค่าไฟมากเกินความจำเป็น ควรเลือกขนาดของแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้องที่ต้องการติดตั้ง ซึ่งแอร์โดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 60,000 BTU

     

    ควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม คือ 25 องศา หรือ ประมาณ 26 – 28 องศา จริงๆแล้ว การตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศา ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดไฟที่สุด แต่เป็นอุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกเย็นสบายพอดี เช่น บางคนอาจจะชอบที่อุณหภูมิ 27 หรือ 28 องศา เป็นต้น ร่างกายของแต่ละคนจะรู้สึกเย็นสบายในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และอุณหภูมิยิ่งสูง ยิ่งช่วยให้ประหยัดค่าไฟ แต่ไม่ควรเปิดแอร์อุณหภูมิสูงจนไม่เกิดความเย็น ซึ่งจะกลายเป็นว่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดใช้แอร์ ถือเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานด้วย และควรล้างแผ่นกรอง และตะแกรงแอร์ เดือนละ 1 ครั้ง

     

    ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ เช่น เตาไฟฟ้า ไมโครเวฟ เป็นต้น รวมทั้ง ควรล้างแอร์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน และประหยัดค่าไฟ

     

    หากต้องการเปิดใช้แอร์ควรปิดประตู – หน้าต่างให้มิดชิด เพื่อไม่ให้ความเย็นรั่วไหลออกภายนอกห้อง และใส่เสื้อผ้าที่สบายๆ เหมาะกับสภาพอากาศ หรือถ้าที่บ้านจำเป็นต้องเปิดใช้แอร์นานต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมง ควรเลือกใช้แอร์ Inverter เพราะจะช่วยให้ประหยัดไฟได้เกือบ 50% เลยทีเดียว

     

    ไม่ควรสูบบุหรี่ในห้องแอร์ เพราะทำให้ต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อช่วยระบายกลิ่น และควันบุหรี่ ทำให้ความเย็นจากแอร์ถูกดูดออกไปด้วย ส่วนคอยล์ร้อน ควรติดตั้งให้อยู่ในจุดที่โดนแดดน้อยที่สุด หรืออยู่ในที่ร่ม และมีอากาศที่สามารถถ่ายเทได้สะดวก หรือติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อช่วยระบายความร้อนได้ดี และยังช่วยประหยัดไฟได้ถึง 15 – 20 %  ควรปิดแอร์ก่อนออกจากห้องอย่างน้อย 30 นาที เพราะถึงแม้จะปิดแอร์แล้วแต่ก็ยังคงมีความเย็นอยู่ และปิดคัทเอาท์แอร์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

     

    วิธีต่างๆ เหล่านี้น่าจะช่วยให้เพื่อนๆ ใช้แอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษา รวมทั้งยังให้ความเย็นที่เพียงพอกับความต้องการได้ตลอดเวลา ที่สำคัญยังช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

     

  • การรั่วซึมของดาดฟ้าและระเบียงบ้าน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุด้วยกัน  สิ่งแรกที่ควรทำ คือ หาจุดรั่วซึมที่แท้จริงให้เจอ เนื่องจากแต่ละจุดมีวิธีการซ่อมแซมที่แตกต่างกัน ดังนี้

     

     

     

      1.ดาดฟ้าและระเบียงตากแดด ฝนมาเป็นเวลานาน ทำให้พื้นคอนกรีตเสื่อมสภาพ น้ำจึงซึมผ่านได้ง่าย

      2.พื้นผิวมีความลาดชันน้อย ทำให้น้ำระบายได้ไม่ดี จึงเกิดน้ำท่วมขัง

      3.พื้นบนดาดฟ้าแอ่นเป็นบ่อ อาจเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้เกิดแอ่งน้ำขึ้นบนดาดฟ้า เช่น การผสมปูนผิดสัดส่วน หรือการเทคอนกรีตพื้นที่ไม่ได้ระดับ เป็นต้น จึงทำให้เกิดน้ำขัง

      4.พื้นมีรอยร้าว รอยแตกลายงา หรือแตกตามแนวคาน สาเหตุอาจเกิดจากไม่ได้เสริมเหล็กตามแนวคาน ก่อนเทคอนกรีต ดังนั้นจึงควรใส่เหล็กเสริมไว้ตั้งแต่ทำการก่อสร้างครั้งแรก ก่อนที่จะเทคอนกรีตไม่ควรปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วถึงจะทำ

      5.ขนาดของท่อน้ำทิ้งเล็กเกินไป จึงทำให้ท่อน้ำอุดตัน หรือจำนวนของท่อน้ำทิ้งไม่พอต่อการระบายน้ำ

     

     

     

    วิธีแก้ไขปัญหาดาดฟ้าและระเบียงบ้านรั่วซึม มีดังนี้

     

      

     

    1.สกัดปูนทรายของเดิมตรงบริเวณที่เป็นแอ่งน้ำออก จากนั้นทาระบบกันซึม แล้วเทปูนทรายปรับระดับพื้นใหม่

    2. ใช้ฝาตะแกรงน้ำทิ้งแบบ Roof Drain ซึ่งมีฝาตะแกรงยกสูงจากพื้น เพื่อช่วยป้องกันการอุดตันที่ปากท่อน้ำทิ้ง ขนาดทั่วไปที่ใช้งานกันคือ ต่อกับท่อ 2 - 3 นิ้ว และควรติดตั้งท่อน้ำทิ้งอย่างน้อย 1 จุด ต่อพื้นที่ 30 – 40 ตารางเมตร

    3. อาจเลือกใช้ฟลิ้นโค้ททาบริเวณรอยแตกร้าว แล้วใส่น้ำขังทิ้งไว้ เพื่อหารอยรั่วซึม ถ้ารอยแตกมีขนาดใหญ่ และกว้าง ควรทาซีเมนต์กันซึมด้วย

    4. การปูกระเบื้องเซรามิคทับบนผิวพื้น ซึ่งสามารถกันการรั่วซึมได้ดี รวมทั้งสามารถทนแดด และฝนได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ทั่วไป แต่ควรระวังเรื่องยาแนวหลุดร่อนตามรอยต่อของกระเบื้อง ดังนั้นจึงควรใช้ยาแนวที่มีคุณภาพดี และหมั่นดูแลซ่อมแซมกำจัดสิ่งสกปรกอย่างสม่ำเสมอด้วย

      

    ผู้อ่านทุกท่าน คงทราบถึงสาเหตุ การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาดาดฟ้า และระเบียงรั่วซึมกันไปแล้ว ต่อจากนี้ไปเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ก็ไม่ต้องหนักใจกับปัญหาจุกจิกกวนใจ เหล่านี้อีกต่อไปแล้วหล่ะค่ะ

     

    ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest
  •  

    การก่ออิฐถือเป็นหัวใจหลักของบ้าน พอๆกับรากฐานเลย หากก่ออิฐไม่ดี ปัญหามากมายจะตามมามแน่นอน

    แล้วการก่ออิฐอิฐครึ่งแผ่นล่ะ มันคืออะไร มาติดตามกันได้เลยค่ะ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  • เมื่อลมร้อนพัดผ่านมาเมื่อไร บ้านก็จะร้อนจนกลายเป็นเตาอบ เพราะแสงแดดแผดเผา เนื่องจากความร้อนที่เข้ามาภายในบ้านส่วนใหญ่มักจะมาจากหลังคา ดังนั้นหากต้องการจะแก้ปัญหาบ้านร้อนให้ได้ผลดี จึงควรเริ่มที่หลังคาก่อน เพื่อช่วยลดและป้องกันความร้อนจากหลังคา เพิ่มความเย็นให้กับบ้านของเรา มาฝากทุกคน ดังนี้ 

     

     

    1. ใช้หลังคาสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน    

     

     

     

     

     

     

    2. ชายคา ควรมีระยะยื่นออกมาอย่างน้อย 1 เมตร และฝ้าชายคา ควรมีช่องระบายความร้อน รวมทั้งช่องตรงฝ้าชายคายิ่งเยอะ

    ก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

     

     


     

     

     

    3. ช่องว่างใต้หลังคา ควรมีความสูงมากพอ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บความร้อนบริเวณใต้หลังคา ทำให้ความร้อนแผ่ลงมายังตัวบ้านได้น้อยลง

     

     

     

     

     

     

     

      4. การติดตั้งแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อน สามารถปูได้ทั้งบนแปรหลังคา หรือปูใต้แปหลังคาก็ได้  

     

     

     

     

     

     5. การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ฉนวนมีความหนาตั้งแต่ 2 นิ้ว – 6 นิ้ว แต่ฉนวนกันความร้อนยิ่งมีความหนามากก็จะยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องทำโครงฝ้าให้แข็งแรงมากขึ้นด้วย     

             

     

     

     

     

     

    ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก้ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่า หรือบ้านสร้างใหม่และควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วย

     

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest                  

  • 6 ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อสร้าง ก่อนจะทำการสร้างมีปัจจัยหลักๆสำคัญที่ควรรู้ก่อนการก่อสร้าง 6 ข้อดังนี้

     

    1.ทำเลสถานที่ก่อสร้าง

    ถ้าเราสร้างบ้านที่เหมือนกัน 2 หลัง  แต่อยู่คนละจังหวัด ค่าก่อสร้าง ย่อมไม่เท่ากัน  เพราะ แต่ละจังหวัด มีค่าครองชีพ ค่าแรง และ ค่าวัสดุต่างกัน บางจังหวัด สามารถหาผู้รับเหมา
    มาตีราคาได้ง่ายกว่า ทำให้เจ้าของมีโอกาส ต่อรองราคาได้มาก 
    .
    ผิดกับบางจังหวัดที่มีช่างน้อย ผู้รับเหมาก็ อาจจะไม่ค่อยมีคู่แข่งมากนัก หรือในบางกรณี  เรียกผู้รับเหมาจากพื้นที่อื่น เข้ามาทำบ้านให้  ก็จะมีค่าใช้จ่าย เรื่องการเดินทาง ทำให้ราคา
    ที่เสนอเข้ามา สูงขึ้นจากเดิม จริงๆแล้ว ... แม้ว่าจะสร้างบ้านแบบเดียวกัน  ในจังหวัดเดียวกัน แต่อยู่คนละโซน ก็อาจจะมี ค่าก่อสร้างที่ไม่เท่ากัน 
    .
    บ้านที่อยู่ในตัวเมือง มีแนวโน้มจะมีค่าก่อสร้างสูงกว่าบ้านที่อยู่ชานเมือง เพราะ การขนส่งของ  จำพวกวัสดุก่อสร้างชิ้นใหญ่ๆ เช่น เสาเข็ม 
    ทำได้ยากกว่า ที่จอดรถน้อยกว่า หรือที่ว่างหายากกว่า ทำให้ไม่สามารถปลูกแคมป์ ที่พักคนงานบริเวณ Site งานได้  ทำให้ผู้รับเหมาต้องหาเช่าที่ข้างนอก

    ให้คนงานพัก แล้วยังอาจต้องมีค่ารถขนส่ง คนงานเข้าไซท์งาน อีกด้วย 

     

    2. ลักษณะพื้นที่หน้างานก่อสร้าง 
    .
    ถ้าสร้างเต็มพื้นที่ และในระแวกใกล้เคียง  ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับกองของ ค่าก่อสร้างอาจจะแพงกว่าปกติ  เนื่องจากการที่ไม่มีพื้นที่กองของ ทำให้ การสั่งซื้อของเข้า Site งาน อาจต้องทยอยสั่ง เข้ามาทีละน้อย ราคาต่อหน่วยของวัสดุก่อสร้าง  จึงแพงกว่า กรณีสั่งของมาดั๊มป์หน้างาน

     

    3.ยี่ห้อ รุ่น สเปค วัสดุก่อสร้าง

    ที่ใช้วัสดุประเภทเดียวกัน แต่คนละยี่ห้อ ราคาก็ต่างกัน หรือแม้ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นต่างกัน ก็อาจจะ ก็มีราคาไม่เท่ากัน

    ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น กระเบื้องปูพื้น  ซึ่งราคามีความแตกต่างค่อนข้างมาก  ขึ้นอยู่กับ ประเภทชนิด

    • ลวดลาย
    • ผิวสัมผัส
    • ขนาดแผ่นกระเบื้อง (แผ่นยิ่งใหญ่ ยิ่งแพง)
    • ยี่ห้อ

    ราคาอาจเริ่มตั้งแต่ ตร.ม. หลักร้อย จนถึง หลักหลายพัน ดังนั้น เวลาสร้างบ้าน  ยิ่งพื้นที่บ้านเยอะ ราคาค่าวัสดุต่อตร.ม.  เลยยิ่งทวีคูณ ทำให้ค่าสร้างบ้าน  โดดแพงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด

     

    4. ประสบการณ์ของทีมงานก่อสร้าง  (ผู้รับเหมา หรือทีมช่าง) 

    ช่างที่ทำงานมานาน หรือทำงานเฉพาะทาง  มักจะมีค่าแรงแพงกว่าช่างที่เพิ่งมาทำงานใหม่  หรืออาจจะยังไม่มีความชำนาญในสายงาน ดังนั้น ในการจ้างทีมงานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงาน เจ้าของบ้านก็อาจจะต้อง จ่ายแพงกว่า เพื่อแลกกับคุณภาพงานก่อสร้าง แต่ก็ยังคุ้มค่ากว่า  การเลือกใช้ผู้รับเหมาที่ค่าแรงถูก  แต่งานที่ได้ออกมา เละ ไม่ตรงตามคุณภาพ  มาตรฐาน แถมยังเสียค่าของ ที่ต้องซื้อมา เปลี่ยน ทดแทนของเดิม  นอกจากนี้ ยังมีค่าแรงรื้อถอน ทุบทิ้ง แก้ไข  ซ่อมแซม และคุณภาพของงานที่แก้แล้ว อาจได้ไม่ดีเหมือนการทำให้ดีตั้งแต่แรกอีกด้วย

     

    5. ลักษณะแบบบ้าน

    แน่นอนว่า แบบบ้านก็มีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้าง ถูกหรือแพงได้เช่นกัน เช่น บ้านที่เน้นดีไซน์เรียบง่าย เป็นกล่องๆ สไตล์ โมเดิร์น ช่างจะทำงานง่าย เพราะ ไม่ค่อยมีลวดลาย โค้ง เว้า ไม่ค่อยเน้น การติดตั้งบัวปูน ตามผนังมากนัก 

    บางหลังเลือกใช้หลังคาเมทัลชีท ซึ่งมีน้ำหนัก ที่เบามาก เมื่อเทียบกับบ้านปกติ ที่หลังคาเป็น กระเบื้องลอนคู่ หรือกระเบื้องคอนกรีต  ทำให้ประหยัดในเรื่องค่าโครงสร้างที่ไม่ต้อง รับน้ำหนักมากนัก และช่างก็ทำงานง่าย  เพราะการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท  ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากอีกด้วย บ้านบางหลัง เลือกใช้ประตู หน้าต่างขนาดใหญ่  เพื่อให้ดูโปร่ง หรูหรา ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้าง แพงขึ้นเยอะ เพราะอาจต้องใช้เป็นการสั่งทำ
    พิเศษจากโรงงาน 
    .
    ดังนั้น เจ้าของบ้านที่ต้องการประหยัด อาจจะต้องย้ำกับคนออกแบบให้เลือกใช้ วัสดุมาตรฐาน หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด  มาติดตั้งให้บ้านของเรา 
    .
    นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจก บานใหญ่มากๆ ซึ่งเราอาจจะปรับแบบประตู  หรือหน้าต่าง โดยเลือกใช้ การใช้เฟรมกระจก มาซอยคั่นกลาง เพื่อลดขนาด และความหนา ของกระจกลง ทำให้ค่ากระจก และค่าแรง
    ในการยกติดตั้ง ที่หน้างานถูกลงไปเยอะอีกด้วย

     

     

    6.เรื่องคนคุมงาน
    .
    หลาย ๆ คนไม่รู้ว่า ราคาที่ผู้รับเหมาเสนอมาแต่ละเจ้า ถูกหรือแพง ต่างกันมาก ๆ ส่วนนึงก็มาจากค่าใช้จ่าย ค่าตัว ค่าเสียเวลาในการดูแล ควบคุมงานของผู้รับเหมา เช่นกัน 

    การควบคุมคุณภาพงานที่ดี และสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เจ้าของบ้านได้รับบ้านที่มีความแข็งแรง  ได้มาตรฐานถูกต้องตามแบบ เสร็จตามกำหนดเวลา  และไม่มีปัญหาหลังจากอยู่อาศัยไปแล้ว...
    บริษัทที่รับออกแบบพร้อมสร้างบางราย (ไม่ใช่ทุกราย) มีความชำนาญ ด้านการออกแบบอย่างเดียว  แต่หาผู้รับเหมา มารับงานต่อเพื่อกินหัวคิว  โดยที่บริษัทอาจจะไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในงานก่อสร้างเพียงพอ จึงไม่ได้เผื่อเรื่องของ ค่าใช้จ่าย ในการควบคุมคุณภาพงาน  ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำงานตามใจฉัน 

    ในหลายๆครั้ง การที่บริษัทออกแบบไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพการทำงานของผู้รับเหมาได้  เนื่องจาก ไม่ใช่ทีมงานของบริษัทเอง  เมื่อเวลาถึงงวดส่งงาน แล้วงานไม่ผ่าน  ผู้รับเหมาก็เลยทิ้งงานไปก็มีเยอะ 
    หรือในบางกรณี ตัวผู้รับเหมาเอง อาจจะรับงานซ้อน ไว้หลาย ๆ เจ้า ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง  บางเจ้าตอนเช้าอาจจะเอาคนงานไปทิ้งไว้ ให้ทำงาน แล้วเย็นก็มารับกลับ  หรือบางไซท์งานที่สามารถปลูกแคมป์ที่พัก คนงานได้ ผู้รับเหมาอาจไม่ได้เข้ามาดูแลบ่อย ๆ  ไม่ได้มีคนคุมงาน สัปดาห์นึงอาจจะเข้าทีนึง  หรือบางสัปดาห์อาจไม่ได้เข้าเลย ดังนั้น ในการเลือกผู้รับเหมา เราอาจต้องพิจารณาเรื่อง ความถี่ของการคุมงาน  ในการเข้าตรวจสอบหน้างานของผู้รับเหมาด้วย  รวมถึงความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่รับผิดชอบดูแล ตรงนี้จะช่วยได้มาก