DIY จากเศษไม้เก่า
By vLIVING PRO24 กรกฎาคม 2560 13:10:54

สำหรับงาน DIY ในบทความนี้เป็นอะไรที่สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยของเหลือใช้ใกล้ตัว ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ และของตกแต่งบ้านเก๋ๆได้ ลองมาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

1. นำแผ่นไม้เก่ามาทำความสะอาด ทาสี หรือเคลือบสีตามต้องการ จากนั้นติดตะขอเหล็กเข้ากับไม้ ก็สามารถใช้เป็นที่แขวนโคมไฟ ตะเกียง ช่วยเพิ่มบรรยากาศภายในบ้าน นอกจากจะใช้งานได้แล้วยังสามารถใช้เป็นของตกแต่งบ้านไปในตัวได้อีกด้วย

       

 

2. นำขวดแก้วรูปทรงเก๋ไก๋ มายึดติดกับแผ่นไม้เก่าที่เหลือจากการใช้งาน ทำเป็นแจกันสำหรับใส่ดอกไม้แล้วติดบริเวณผนังบ้านตามต้องการ ซึ่งเป็นของแต่งบ้านที่ทำได้ง่ายๆ แถมยังช่วยเพิ่มความสวยงาม สดชื่น เป็นธรรมชาติให้กันบ้านของเราได้มากเลยค่ะ

  

  

 

3.  ทำที่แขวนของใช้ต่างๆ บริเวณหน้าประตูเข้าบ้าน หรือทำชั้นรูปทรงเก๋ๆ สำหรับวางของและแขวนของใช้จำเป็นที่ต้องใช้ประจำเพื่อความสะดวกในการหยิบใช้สอย เมื่อเวลาเข้า-ออกบ้าน นอกจากใช้งานได้แล้ว ยังเป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วย

   

 

4. หากนำเศษไม้เก่าที่เหลือใช้ยึดติดกับโถ หรือขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้ว และนำไปกับผนังบริเวณห้องครัว ก้สามารถใช้เป็นที่ใส่ช้อน-ส้อม ทับพี ตะหลิว และยังใช้เป็นแขวนแก้วน้ำ หรือของอื่นๆ ตามที่เราต้องการได้ อาจเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่ลวดลาย ตัวหนังสือลงบนแผ่นไม้ นอกจากนี้ยังสามารถทำชั้นวางของตามมุมของกำแพงทำให้ดูมีมิติและมีความสวยงามด้วย

  

 

เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับไอเดียจากเศษไม้เก่าเหลือใช้ที่นำมา DIY ในบทความนี้ได้นำเสนอให้ดูแค่บางส่วนเท่านั้นนะคะ หากใครสนใจ ต้องการที่จะลองนำไปทำดูบ้างก็ได้นะคะ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆไม่ยุ่งยาก รับรองได้ว่าบ้านของคุณจะสวยงามไม่เหมือนใครเลยค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • "สลัดดอก"  ศัพท์เทคนิคทางการก่อสร้าง ที่คนทั่วไปเมื่อได้ยินได้ฟังแล้วคงจะต้องงวยงงกันน่าดู ว่าหมายถึงอะไร ดังนั้นวันนี้เรามีความหมายของคำว่า "สลัดดอก" มาฝากเพื่อนๆ ค่ะ

     

     

      

     

     

     

    จากบทความนี้ เพื่อนๆ คงได้รู้ความหมายของคำว่า "สลัดดอก" กันไปแล้วนะคะ รวมถึงขั้นตอนการทำที่ถูกต้องด้วย และที่สำคัญคือทุกๆ ขั้นตอนของการก่อสร้างมีความสำคัญไม่ควรละเลยนะคะ

  •               เป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาคนบ้านใกล้เรือนเคียงมากมายหลายรูปแบบ อาจสร้างความลำบากใจ หรือหงุดหงิดรำคาญใจต่อกันได้  ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนบ้านต้องสั่นคลอน ควรทำความเข้าใจปัญหาต่างๆ และความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนี้

     

    1. ข้อพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต

    ควรศึกษากฎหมายให้แน่ชัดก่อนว่าควรเว้นระยะถอยร่นจากเขตกรรมสิทธิ์เท่าไร เช่น

    • อาคารที่เป็นผนังทึบ และสูงไม่เกิน 15 เมตร สามารถสร้างติดเขตที่ดินได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเพื่อนบ้านก่อน แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่ยินยอม ต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
    • อาคารสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร จะต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างนี้ 50 เซนติเมตร
    • ถ้ามีช่องเปิด แล้วอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ตัวอาคารจะมีกี่ชั้นก็ได้ จะต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร แต่ถ้าอาคารสูงเกิน 9 เมตร และมีช่องเปิด ต้องถอยร่นห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร
    • 70% ของพื้นที่ทั้งหมดใช้สำหรับสร้างบ้าน และควรมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% เพื่อใช้สำหรับทำบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ หรือบ่อพักน้ำเสีย เป็นต้น

    ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องต่อเติมชิดติดเขตของเพื่อนบ้าน ควรให้เพื่อนบ้านเซ็นยินยอมก่อน

     

    1. เขตรั้ว

    มาตรฐานความสูงของรั้ว ที่นิยมใช้ทั่วไป  คือ รั้วหลังบ้านสูงได้ไม่เกิน  1.80 เมตร รั้วหน้าบ้านสูงได้ไม่เกิด 1.20 เมตร และรั้วต้นไม้สูงได้ไม่เกิน 2.40 เมตร แต่ในกรณี ที่ต้องการสร้างรั้วสูง เพื่อความเป็นส่วนตัว ก็สามารถทำได้ แต่ต้องสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร และต้องสร้างใหม่อยู่ในเขตที่ดินของตนเอง ตามที่กฎหมายระบุไว้

     

    1. การยื่นล้ำของหลังคา

     ควรระวังไม่ให้หลังคายื่นล้ำเขาไปในเขตของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเวลาฝนตก จะทำให้ฝนจากหลังคาบ้านไหลเข้าบริเวณเขตบ้านของเพื่อนบ้านได้ ละถ้าหลังคาเสมอกับขอบรั้วบ้าน ควรใส่รางน้ำให้เรียบร้อยด้วย เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงในเขตพื้นที่ของเพื่อนบ้าน

     

    1. วิวทิวทัศน์

    ถ้าเพื่อนบ้านต่อเติมบ้าน หรือปลูกต้นไม้บังวิว ทิวทัศน์  โดยเฉพาะกรณีที่เพื่อนบ้านเจตนาทำสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อบังวิว  เช่น บางสถานที่เป็นทะเล ภูเขา ซึ่งเป็นวิวธรรมชาติ  กฎหมายจะระบุไว้ว่าห้ามปลูกต้นไม้สูงหรือสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำไปยังพื้นที่สาธารณะทำให้บังวิวเพื่อนบ้าน  เจ้าของบ้านที่ถูกบังวิวสามารถยื่นฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิชมวิวของตนได้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องต่อเติมหรือสร้างสิ่งปลูกสร้าง ควรพูดคุยเจรจากับเพื่อนบ้านก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา

     

    1. ขุดบ่อ สระ หรือบ่อพักน้ำเสีย

     

    การปรับพื้นที่ อาจก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านได้ ดังนั้นจึงควรรู้เรื่องกฎหมายก่อนที่จะลงมือทำ เช่น การขุดดิน บ่อ หรือสระว่ายน้ำ ควรเว้นระยะร่นห่างจากรั้วบ้าน หรือพื้นที่ของเพื่อนบ้านไม่น้อยกว่า 2 เมตร และต้องระวังไม่ให้ดินพังด้วย หากจำเป็นต้องขุดบ่อน้ำเสีย ควรระวังเรื่องกลิ่นเหม็น และน้ำเสียในบ่อเออล้น ไหลซึมเข้าเขตเพื่อนบ้าน ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นความผิดที่สามารถเอาผิดได้

     

    1. การปลูกต้นไม้ใหญ่ริมรั้ว

    การปลูกต้นไม้ใหญ่ในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหามากมายกับเพื่อนบ้าน ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ติดกับรั้วของเพื่อนบ้าน เพราะหากต้นไม้เกิดเอนเอียง ใกล้จะล้ม หรือรากอาจชอนไชทะลุไปฝั่งเพื่อนบ้าน แล้วอาจทำให้รั้ว หรือโครงสร้างบ้านบริเวณนั้นๆพัง เสียหายได้ และหากกิ่งก้านของต้นไม้ยื่นล้ำเข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน แล้วรู้สึกว่าอาจทำให้บ้านเกิดการเสียหายได้  เพื่อนบ้านมีสิทธิตัดกิ่งไม้ที่ยื่นล้ำเข้ามาได้เลย หรือเพื่อนบ้านสามารถโทรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อให้สั่งตัด หรือขุดถอนต้นไม้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทิ้งได้

     

    1. สัตว์เลี้ยงแสนรัก (ของเราคนเดียว)

    ควรป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน กัดทำลายข้าวของพังเสียหาย หรือถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้งคุ้ยขยะ ทำให้บริเวณบ้านสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น สร้างความเดือดร้อนเพื่อนบ้านสามารถเรียกร้องจากเจ้าของสัตว์ได้ และในกรณีที่สุนัขอาจชอบเห่าหอนส่งเสียงดัง สร้างความหนวกหู รำคาญใจ เพื่อนบ้านสร้างมารถแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ดูแลสัตว์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงประเภทใดก็ตาม ควรใส่ใจดูแล และให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ควรจัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ฝึกนิสัยของสัตว์เลี้ยงให้ดี เพื่อไม่ให้ก่อเรื่องวุ่นวาย และสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้าน

     

    8 . จอดรถ ขวางทาง

     

    ไม่ควรจอดรถขวางทางเข้า – ออก หน้าประตูบ้านของเพื่อนบ้าน กฎหมาย ถือว่าเป็นการกระทำความผิด สร้างคามเดือดร้อนรำคาญใจ เจ้าของบ้านมีสิทธิ์เรียกร้อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นควรขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อน เช่น ถ้ามีแขก หรือเพื่อนมาหาที่บ้านเพื่อนคุยธุระ แล้วที่จอดรถไม่เพียงพอ ควรพูดคุยเพื่อขออนุญาตกับเพื่อนให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

     

    1. เสียงดังรบกวน

    การส่งเสียงดังที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจ ให้กับเพื่อน บ้านเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ  เช่น เสียงที่เกิดจาก งานเลี้ยง ดื่มสุรา เมาแล้วโวยวายส่งเสียงดัง เปิดเพลงเสียงดัง ทะเลาะกันเอะอะโวยวาย กฎหมายถือเป็นความผิด เพื่อนบ้านมีสิทธิ์ฟ้องร้องได้  หากจำเป็นต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อน โดยกฎหมายได้ระบุช่วงเวลาเงียบสงบ ไว้ดังนี้

    วันธรรมดา     ช่วงเงียบสงบ คือ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 7.00 น.

    วันหยุด           ช่วงเงียบสงบ คือ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 9.00 น.

     

                       การอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน อาจจะก่อให้เกิดเรื่องกระทบกระทั้งกันบ้าง แต่ทางที่ดี ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล เปิดใจรับฟัง และช่วยกันแก้ปัญหา ก็จะช่วยให้อยู่กันได้อย่างมีความสุข  และหากทุกคนทำตามกฎหมายข้อบังคับต่างๆอย่างถูกต้อง เชื่อว่าปัญหาระหว่างเพื่อนบ้านก็จะหมดไป และอยู่กันได้ด้วยความสุขสงบ หมดปัญหากวนใจ

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest

  • ดอกสว่าน เป็นอุปกรณ์หนึ่งในงานช่างที่สำคัญเหมือนกับเครื่องมืออื่นๆ

    ประโยชน์ของดอกสว่าน มีไว้ทำอะไรบ้าง กี่ประเภท มาดูกันได้เลยคร้าบบ

     

     

     

     

     

  •      ในงานก่อสร้าง ต้องพิจารณาดูว่างานที่ทำไม่เสร็จ หรือว่างานที่ทำไปกลางคันแล้ว ทำไม่เสร็จจริงเพราะว่างานเหลือเยอะแล้วไม่ทำต่อ  หรือเป็นกรณีที่ เบิกเงินไปแล้วหนีไปเลย ลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน เพราะว่าเงินส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้าน อาจจะต้องนำไปจ่ายให้ช่างใหม่มาเก็บงานต่อ  และอาจเกิดงบบานปลายได้เพราะ ช่างที่เข้ามาใหม่อาจจะคิดราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นว่าช่างเก่าที่ทำไว้งานไปถึงไหนแล้ว สาเหตุเนื่องจากไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนจึงมีการเผื่อค่าเก็บแก้งาน

     

     

    1.ประเด็นและสาเหตุการทิ้งงาน

    หากช่างทำงานไม่สำเร็จ หรือทิ้งงานไปกลางคัน โดยที่ปริมาณงานยังเหลืออีกเยอะ หากช่างเบิกงวดงาน ไปแล้วปิดมือถือหรือติดต่อยาก ผู้ว่าจ้างอาจจะต้องพิจารณาไม่จ่ายเงิน ในส่วนที่ทำไป แล้วเพราะ เงินที่เหลือ จะต้องนำไปจ้างช่างที่ว่าจ้างเข้ามาใหม่ที่จะเข้ามาต่องาน ช่างใหม่อาจจะคิดเงินราคาแพงกว่าเพราะไม่รู้ว่าของเดิมได้ทำไว้แย่แค่ไหน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บงานมากขึ้น

     

    2.การจ้างงานช่างหรือผู้รับเหมา ควรทำสัญญาให้ชัดเจน ว่าเบิกงวดงานได้ตอนไหน หากไม่มีเอกสารที่จะระบุได้ชัดเจนอาจจะทำให้ช่าง เบิกเงินเกินกับปริมารงานที่ทำ เจ้าของบ้านมารู้ตัวอีกที เงินอาจจะหมดแล้วแต่งานยังไม่ไปถึงไหนเลย หรือ หากถึงเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าของบ้านดึงเงินไม่จ่ายก็ต้องมาดูที่สัญญาว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน

     

    ข้อแนะนำเพิ่มเติม

    ในการทำสัญญากับรับเหมาควรจะขอเอกสาร เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านเดิม ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งในการอ้างอิง โดยทั่วไปช่างที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะไม่ยอมให้หลักฐานประกอบเพื่อแนบในสัญญา นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีปัญหาการเงินตั้งแต่แรก เพราะตอนทำงานจริงก็มีโอกาสเกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันและอาจทิ้งงานได้

    3. จ่ายตามจริง อ้างอิงราคากลาง หรือ ที่ตกลงไว้

     จ่ายเท่าไหร่ ขึ้นกับการเจรจา โดยทั่วไปถ้าคุยกันเองได้ก็จบ แต่คุยสรุปตัวเลขกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาล ก็จะให้คนกลาง สภาวิศวกรมาประเมิน

     

     

     

     

    4.สัญญา ฟ้องได้ แต่คุ้มไหม?

    ไม่แน่ใจ ค่าฟ้องก็หลายหมื่นนะ มันจะมีอัตราเท่าไหร่ ไม่แน่ใจ ต้องเช็คทนาย

     อีกเรื่องคือ ทาง ผรม. มีทรัพย์อะไรให้ยึดมั้ย แล้วถ้าเค้าไม่ได้มีชื่อถือครองสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถ เป็นชื่อพ่อแม่ ก็ยึดไม่ได้นะ หรือ ถ้าเค้าทำงานเป็นพนักงานประจำ สมมติว่า ตามไปทำเรื่องแจ้งขอหักเงินจากเจ้านายใหม่  ถ้าเค้าย้ายงาน เราก็ต้องสืบว่ามันย้ายไปทำทีไ่หน แล้วต้องทำเรื่องใหม่หมด ยุ่งยาก