โดนผู้รับเหมาทิ้งงานแก้ไขยังไงดี?
By vLIVING PRO25 พฤศจิกายน 2567 09:56:31

     ในงานก่อสร้าง ต้องพิจารณาดูว่างานที่ทำไม่เสร็จ หรือว่างานที่ทำไปกลางคันแล้ว ทำไม่เสร็จจริงเพราะว่างานเหลือเยอะแล้วไม่ทำต่อ  หรือเป็นกรณีที่ เบิกเงินไปแล้วหนีไปเลย ลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน เพราะว่าเงินส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้าน อาจจะต้องนำไปจ่ายให้ช่างใหม่มาเก็บงานต่อ  และอาจเกิดงบบานปลายได้เพราะ ช่างที่เข้ามาใหม่อาจจะคิดราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นว่าช่างเก่าที่ทำไว้งานไปถึงไหนแล้ว สาเหตุเนื่องจากไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนจึงมีการเผื่อค่าเก็บแก้งาน

 

 

1.ประเด็นและสาเหตุการทิ้งงาน

หากช่างทำงานไม่สำเร็จ หรือทิ้งงานไปกลางคัน โดยที่ปริมาณงานยังเหลืออีกเยอะ หากช่างเบิกงวดงาน ไปแล้วปิดมือถือหรือติดต่อยาก ผู้ว่าจ้างอาจจะต้องพิจารณาไม่จ่ายเงิน ในส่วนที่ทำไป แล้วเพราะ เงินที่เหลือ จะต้องนำไปจ้างช่างที่ว่าจ้างเข้ามาใหม่ที่จะเข้ามาต่องาน ช่างใหม่อาจจะคิดเงินราคาแพงกว่าเพราะไม่รู้ว่าของเดิมได้ทำไว้แย่แค่ไหน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บงานมากขึ้น

 

2.การจ้างงานช่างหรือผู้รับเหมา ควรทำสัญญาให้ชัดเจน ว่าเบิกงวดงานได้ตอนไหน หากไม่มีเอกสารที่จะระบุได้ชัดเจนอาจจะทำให้ช่าง เบิกเงินเกินกับปริมารงานที่ทำ เจ้าของบ้านมารู้ตัวอีกที เงินอาจจะหมดแล้วแต่งานยังไม่ไปถึงไหนเลย หรือ หากถึงเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าของบ้านดึงเงินไม่จ่ายก็ต้องมาดูที่สัญญาว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ในการทำสัญญากับรับเหมาควรจะขอเอกสาร เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านเดิม ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งในการอ้างอิง โดยทั่วไปช่างที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะไม่ยอมให้หลักฐานประกอบเพื่อแนบในสัญญา นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีปัญหาการเงินตั้งแต่แรก เพราะตอนทำงานจริงก็มีโอกาสเกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันและอาจทิ้งงานได้

3. จ่ายตามจริง อ้างอิงราคากลาง หรือ ที่ตกลงไว้

 จ่ายเท่าไหร่ ขึ้นกับการเจรจา โดยทั่วไปถ้าคุยกันเองได้ก็จบ แต่คุยสรุปตัวเลขกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาล ก็จะให้คนกลาง สภาวิศวกรมาประเมิน

 

 

 

 

4.สัญญา ฟ้องได้ แต่คุ้มไหม?

ไม่แน่ใจ ค่าฟ้องก็หลายหมื่นนะ มันจะมีอัตราเท่าไหร่ ไม่แน่ใจ ต้องเช็คทนาย

 อีกเรื่องคือ ทาง ผรม. มีทรัพย์อะไรให้ยึดมั้ย แล้วถ้าเค้าไม่ได้มีชื่อถือครองสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถ เป็นชื่อพ่อแม่ ก็ยึดไม่ได้นะ หรือ ถ้าเค้าทำงานเป็นพนักงานประจำ สมมติว่า ตามไปทำเรื่องแจ้งขอหักเงินจากเจ้านายใหม่  ถ้าเค้าย้ายงาน เราก็ต้องสืบว่ามันย้ายไปทำทีไ่หน แล้วต้องทำเรื่องใหม่หมด ยุ่งยาก

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  •      จะปูกระเบื้องทับของเดิม ต้องเช็คอะไรก่อนบ้าง กระเบื้องเก่าอยากจะปูใหม่ ต้องเช็คอะไร วันนี้เรามีวิธีมาฝากกัน

     

     

    สิ่งที่ควรตรวจสอบก่อนจะปูกระเบื้องทับของเก่ามีดังนี้

    1.พื้นที่ที่ต้องการปูทับต้องมีระดับเดียวกันเสมอกันหมด หากไม่เรียบปูทับไปอาจทำให้เกิดปัญหาแนะนำให้รื้อออกแล้วปูใหม่จะดีกว่า

     

     

    2.ตรวจเช็คความลาดเอียง หากพื้นไม่ได้มาตรฐาน มีการระบายน้ำที่ไม่ดีเกิดเป็นแอ่ง ไม่ควรปูทับแด็ดขาด สำหรับห้องน้ำและระเบียง ควรจะทากันซึมให้เรียบร้อยก่อนการปูกระเบื้องทับจะดีกว่า

     

     

    3.ถ้ากระเบื้องเดิมเกิดการแตกร้าว บิ่น โก่ง หรือการยึดเกาะเดิมของกระเบื้องไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ควรจะปูกระเบื้องทับเด็ดขาด เพราะทำให้เกิดการรั่วซึมหรือกระเบื้องเดิมอาจจะแตกร้าวได้

     

    4.ไม่ควรปูทับกระเบื้องภายนอกเด็ดขาด เพราะอากาศจะทำให้กระเบื้องหลุดร่วงเป็นอันตรายได้

    5.เคาะเพื่อดูความแน่นของซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้อง หากมีเสียงโปร่งที่ขอบกระเบื้อง ไม่ควรปูทับ เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึม หรือกระเบื้องจะแตกร้าวได้

     

     

    ข้อดีและข้อเสียของการปูกระเบื้องทับของเดิม

    1.ช่วยประหยัดค่าแรงเพราะไม่ต้องทำการรื้อกระเบื้องเดิมออกและใช้เวลารวดเร็วในการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน

    ข้อเสีย

    1.พื้นมีความหนามากขึ้นตามความหนาของกระเบื้อง และกาวซีเมนต์ ทำให้ห้องดูแคบหรือเตี้ยลงได้ ทำให้มีผลกับบานประตูอาจจะต้องตัดข้างล่างออกเพื่อให้เปิดปิดได้หรืออาจจะต้องเปลี่ยนบานใหม่

     

    2.โครงสร้างอาจมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะพื้นที่ต่างๆวิศวกรได้คำนวณมาหมดแล้ว หากมีการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปอีก อาจจะทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงสำหรับบ้านที่ไม่แข็งแรงพอได้

     

    3.การยึดเกาะอาจไม่ดีเท่าที่ควร กระเบื้องแผ่นเก่าบางที่อาจเป็นผิวหน้าเรียบทำให้ไม่สามารถยึดเกาะปูนกาวได้ เพราะกระเบื้องที่มีความเรียบมันจะทำให้ยึกติดยากกว่าแบบหน้าหยาบทำให้กระเบื้องไม่ยึดติดและร่อนได้

    4.ช่างที่ทำบางคนอาจมีความถนัดไม่มากพอ เลยทำให้เกิดการปูกระเบื้องที่ไม่ดีได้

     

     

    5.ช่องใต้แผ่นกระเบื้อง หรือระหว่างกระบื้องแผ่นเดิมและแผ่นใหม่ หากเป็นส่วนที่ต้องเดิมน้ำตลอด เช่นห้องน้ำ อาจจะทำให้เกิดการขังของน้ำใต้กระเบื้อง หรือตามคราบยาแนว ทำให้เกิดเป็นเชื้อราทำให้ต้องรื้อและปูกระเบื้องใหม่

     

    ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์สำหรับปูทับกระเบื้องโดยเฉพาะ ที่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะตัวสูง จะทำให้กระเบื้องยึดติดกันได้แน่น และช่วยลดปัญหาการหลุดล่อน

  • ใครที่เคยพูดว่าดอกไม้ เมื่อแห้งเหี่ยวแล้วก็ต้องโยนทิ้งไป คงต้องเปลี่ยนความคิดซะแล้วหล่ะ เพราะดอกไม้แห้งก็สวยงามได้ ถ้าสามารถรักษารูปทรงเดิมให้อยู่ได้ เรามายืดอายุให้กับดอกไม้กันเถอะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นดอกอะไรก็สามารถทำได้ และไม่ยุ่งยาก จะทำเป็นของที่ระลึก ของขวัญ หรือทำเป็นบุหงารำไป ช่วยเพิ่มความหอมสดชื่นให้บ้านก็ได้นะคะ งั้นเรามาเริ่มทำไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

    1. ตากดอกไม้เพื่อทำดอกไม้แห้งให้ฟอร์มยังคงความสวยงามอยู่เหมาะเดิม

    วิธีทำมีดังนี้

    1. เลือกดอกไม้ที่ต้องการทำเป็นดอกไม้แห้ง  เด็ดกลีบช้ำ ขาด แหว่ง หรือไม่สวยทิ้งไป

    2. ตัดก้านดอกไม้ออกสักนิด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว

    3.  ใช้เชือกมัดตรงปลายก้านรวมกันเป็นช่อ สำหรับแขวนกลับหัว ให้ดอกไม้ห้อยลงล่าง ก้านชี้ขึ้นข้างบน เพื่อรักษาตัวดอกไม้ให้คงรูป ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท ป้องกันการเกิดเชื้อราที่กลีบของดอก

    4. ทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ดอกไม้จะแห้งสนิท และก้านจะตั้งตรงไม่หักงอ 

    วิธีนี้เหมาะกับดอกไม้ที่มีกลีบหนาและทน แต่ไม่เหมาะกับดอกไม้ประเภทกลีบบางช้ำง่าย เพราะกลีบจะเหี่ยวย่น ยับยู่ หรืออาจจะร่วงระหว่างตากลมได้ค่ะ

      

     

    2. แช่ด้วยสารดูดความชื้น หรือซิลิก้าเจล เป็นสารที่ใส่อยู่ในถุงเล็กๆ ที่ติดมากับห่อขนม กล่องรองเท้า กระเป๋า หรือผลิตภัณฑ์บางประเภท สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีทั่วไป และสามารถใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ

    วิธีการทำมีดังนี้

    1. เอาสารดูดความชื้นใส่ในภาชนะทรงสูง แล้วตั้งดอกไม้ให้ตรง จัดให้อยู่ในทรงที่เราต้องการ

    2. เทสารดูดความชื้นให้ดอกไม้ให้มิด

    3. ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จ หรือถ้าอยากได้เฉพาะดอก ก็สามารถตัดก้านออกได้ แล้วใส่ในภาชนะที่ไม่ต้องสูงมาก 

    4. เอาเข้าไมโครเวฟ 1-2 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย หรือหากไม่มีไมโครเวฟ ก็สามารถวางทิ้งไว้เฉยๆ ได้ แต่จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

    5. ล้างมือให้สะอาด ภาชนะที่นำมาใช้ก็ทิ้งไปเลยนะคะ หรือนำไปใช้อย่างอื่นก็ได้ แต่ห้ามใช้ใส่อาหารเด็ดขาด

     

     

    3. การทับดอกไม้ วิธียอดฮิตสมัยเด็กๆ

    วิธีการทำมีดังนี้ 

    1. เลือกดอกไม้ ควรใช้ดอกไม้ที่มีขนาดเล็กและแบน หลีกเลี่ยงการใช้ดอกไม้ที่มีก้านอ้วนๆ หรือที่มีกลีบบาง เพราะจะได้รับความเสียหายได้ง่าย
     
    2. วางดอกไม้บนกระดาษที่ผิวแห้ง ด้าน ไม่มันเงา เช่น หนังสือพิมพ์ กระดาษแข็งหรือกระดาษทิชชู่
     
    3. นำไปสอดไว้ในหนังสือเล่มหนาอีกครั้ง อาจใส่กล่อง หรือแผ่นไม้หนักๆ วางทับลงอีกที ทิ้งไว้ประมาณ 1-3 อาทิตย์ แค่นี้ก็จะได้ดอกไม้แห้งที่บางเรียบคงตัวตามแบบที่จัดไว้ แล้วอาจนำไปใส่กรอบรูป หรือเคลือบทำเป็นที่คั่นหนังสือก็ได้
     
      
     
     
    4. การอบแห้งในเตาอบลมร้อน
     
    วิธีการทำมีดังนี้
    1. เตรียมดอกไม้ที่ต้องการ แล้วตัดลวดตาข่ายแบบดัดได้ ขนาดใหญ่พอสำหรับดอกไม้ จากนั้นวางดอกไม้พาดช่องว่างของตะแกรง
     
    2. เปิดไฟวอร์มเตาอบก่อน และควรใช้เตาอบลมร้อนที่ระบายอากาศได้ดี โดยใช้อุณหภูมิต่ำ เมื่อเตาอบร้อนถึง 38ºC ให้วางตะแกรงที่เรียงดอกไม้ใส่เข้าไปในเตาอบ
     
    3. ปล่อยทิ้งไว้ในเตาอบลมร้อนประมาณ 1 ชั่วโมง การใช้ระยะเวลาในการอบแห้งจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของดอกไม้ที่ใช้ ไม่ควรใช้เตาอบทั่วไป เพราะมีความชื้นมากเกินไป
     
    4. เมื่อดอกไม้แห้งสนิทแล้ว นำออกมาจากเตาอบและพักไว้บนตะแกรงให้เย็นลง แล้งฉีดสเปรย์ใส่ผม หรือสารคงสภาพดอกไม้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทานของดอกไม้แห้ง
      
     

    ลองทำตามกันดูนะคะ เป็นวิธีที่ง่ายๆ มีให้เลือกหลายวิธี และหากเพื่อนๆ คนไหน ทำแล้วติดใจ อาจลองทำขายก็ได้นะคะ ใช้เวลาว่างให้เกินประโยชน์ แถมยังสามารถทำเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วยค่ะ 

     

    ขอบคุณภาพประกอบจาก Pinterest

     

  •               เป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาคนบ้านใกล้เรือนเคียงมากมายหลายรูปแบบ อาจสร้างความลำบากใจ หรือหงุดหงิดรำคาญใจต่อกันได้  ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนบ้านต้องสั่นคลอน ควรทำความเข้าใจปัญหาต่างๆ และความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนี้

     

    1. ข้อพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต

    ควรศึกษากฎหมายให้แน่ชัดก่อนว่าควรเว้นระยะถอยร่นจากเขตกรรมสิทธิ์เท่าไร เช่น

    • อาคารที่เป็นผนังทึบ และสูงไม่เกิน 15 เมตร สามารถสร้างติดเขตที่ดินได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเพื่อนบ้านก่อน แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่ยินยอม ต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
    • อาคารสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร จะต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างนี้ 50 เซนติเมตร
    • ถ้ามีช่องเปิด แล้วอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ตัวอาคารจะมีกี่ชั้นก็ได้ จะต้องถอยร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร แต่ถ้าอาคารสูงเกิน 9 เมตร และมีช่องเปิด ต้องถอยร่นห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร
    • 70% ของพื้นที่ทั้งหมดใช้สำหรับสร้างบ้าน และควรมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% เพื่อใช้สำหรับทำบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ หรือบ่อพักน้ำเสีย เป็นต้น

    ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องต่อเติมชิดติดเขตของเพื่อนบ้าน ควรให้เพื่อนบ้านเซ็นยินยอมก่อน

     

    1. เขตรั้ว

    มาตรฐานความสูงของรั้ว ที่นิยมใช้ทั่วไป  คือ รั้วหลังบ้านสูงได้ไม่เกิน  1.80 เมตร รั้วหน้าบ้านสูงได้ไม่เกิด 1.20 เมตร และรั้วต้นไม้สูงได้ไม่เกิน 2.40 เมตร แต่ในกรณี ที่ต้องการสร้างรั้วสูง เพื่อความเป็นส่วนตัว ก็สามารถทำได้ แต่ต้องสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร และต้องสร้างใหม่อยู่ในเขตที่ดินของตนเอง ตามที่กฎหมายระบุไว้

     

    1. การยื่นล้ำของหลังคา

     ควรระวังไม่ให้หลังคายื่นล้ำเขาไปในเขตของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเวลาฝนตก จะทำให้ฝนจากหลังคาบ้านไหลเข้าบริเวณเขตบ้านของเพื่อนบ้านได้ ละถ้าหลังคาเสมอกับขอบรั้วบ้าน ควรใส่รางน้ำให้เรียบร้อยด้วย เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงในเขตพื้นที่ของเพื่อนบ้าน

     

    1. วิวทิวทัศน์

    ถ้าเพื่อนบ้านต่อเติมบ้าน หรือปลูกต้นไม้บังวิว ทิวทัศน์  โดยเฉพาะกรณีที่เพื่อนบ้านเจตนาทำสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อบังวิว  เช่น บางสถานที่เป็นทะเล ภูเขา ซึ่งเป็นวิวธรรมชาติ  กฎหมายจะระบุไว้ว่าห้ามปลูกต้นไม้สูงหรือสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำไปยังพื้นที่สาธารณะทำให้บังวิวเพื่อนบ้าน  เจ้าของบ้านที่ถูกบังวิวสามารถยื่นฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิชมวิวของตนได้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องต่อเติมหรือสร้างสิ่งปลูกสร้าง ควรพูดคุยเจรจากับเพื่อนบ้านก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา

     

    1. ขุดบ่อ สระ หรือบ่อพักน้ำเสีย

     

    การปรับพื้นที่ อาจก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านได้ ดังนั้นจึงควรรู้เรื่องกฎหมายก่อนที่จะลงมือทำ เช่น การขุดดิน บ่อ หรือสระว่ายน้ำ ควรเว้นระยะร่นห่างจากรั้วบ้าน หรือพื้นที่ของเพื่อนบ้านไม่น้อยกว่า 2 เมตร และต้องระวังไม่ให้ดินพังด้วย หากจำเป็นต้องขุดบ่อน้ำเสีย ควรระวังเรื่องกลิ่นเหม็น และน้ำเสียในบ่อเออล้น ไหลซึมเข้าเขตเพื่อนบ้าน ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นความผิดที่สามารถเอาผิดได้

     

    1. การปลูกต้นไม้ใหญ่ริมรั้ว

    การปลูกต้นไม้ใหญ่ในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหามากมายกับเพื่อนบ้าน ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ติดกับรั้วของเพื่อนบ้าน เพราะหากต้นไม้เกิดเอนเอียง ใกล้จะล้ม หรือรากอาจชอนไชทะลุไปฝั่งเพื่อนบ้าน แล้วอาจทำให้รั้ว หรือโครงสร้างบ้านบริเวณนั้นๆพัง เสียหายได้ และหากกิ่งก้านของต้นไม้ยื่นล้ำเข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน แล้วรู้สึกว่าอาจทำให้บ้านเกิดการเสียหายได้  เพื่อนบ้านมีสิทธิตัดกิ่งไม้ที่ยื่นล้ำเข้ามาได้เลย หรือเพื่อนบ้านสามารถโทรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อให้สั่งตัด หรือขุดถอนต้นไม้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทิ้งได้

     

    1. สัตว์เลี้ยงแสนรัก (ของเราคนเดียว)

    ควรป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน กัดทำลายข้าวของพังเสียหาย หรือถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้งคุ้ยขยะ ทำให้บริเวณบ้านสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น สร้างความเดือดร้อนเพื่อนบ้านสามารถเรียกร้องจากเจ้าของสัตว์ได้ และในกรณีที่สุนัขอาจชอบเห่าหอนส่งเสียงดัง สร้างความหนวกหู รำคาญใจ เพื่อนบ้านสร้างมารถแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ดูแลสัตว์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงประเภทใดก็ตาม ควรใส่ใจดูแล และให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ควรจัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ฝึกนิสัยของสัตว์เลี้ยงให้ดี เพื่อไม่ให้ก่อเรื่องวุ่นวาย และสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้าน

     

    8 . จอดรถ ขวางทาง

     

    ไม่ควรจอดรถขวางทางเข้า – ออก หน้าประตูบ้านของเพื่อนบ้าน กฎหมาย ถือว่าเป็นการกระทำความผิด สร้างคามเดือดร้อนรำคาญใจ เจ้าของบ้านมีสิทธิ์เรียกร้อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นควรขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อน เช่น ถ้ามีแขก หรือเพื่อนมาหาที่บ้านเพื่อนคุยธุระ แล้วที่จอดรถไม่เพียงพอ ควรพูดคุยเพื่อขออนุญาตกับเพื่อนให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

     

    1. เสียงดังรบกวน

    การส่งเสียงดังที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจ ให้กับเพื่อน บ้านเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ  เช่น เสียงที่เกิดจาก งานเลี้ยง ดื่มสุรา เมาแล้วโวยวายส่งเสียงดัง เปิดเพลงเสียงดัง ทะเลาะกันเอะอะโวยวาย กฎหมายถือเป็นความผิด เพื่อนบ้านมีสิทธิ์ฟ้องร้องได้  หากจำเป็นต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อน โดยกฎหมายได้ระบุช่วงเวลาเงียบสงบ ไว้ดังนี้

    วันธรรมดา     ช่วงเงียบสงบ คือ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 7.00 น.

    วันหยุด           ช่วงเงียบสงบ คือ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 9.00 น.

     

                       การอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน อาจจะก่อให้เกิดเรื่องกระทบกระทั้งกันบ้าง แต่ทางที่ดี ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล เปิดใจรับฟัง และช่วยกันแก้ปัญหา ก็จะช่วยให้อยู่กันได้อย่างมีความสุข  และหากทุกคนทำตามกฎหมายข้อบังคับต่างๆอย่างถูกต้อง เชื่อว่าปัญหาระหว่างเพื่อนบ้านก็จะหมดไป และอยู่กันได้ด้วยความสุขสงบ หมดปัญหากวนใจ

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest

  • เครื่องมือช่างหากทิ้งไว้นานๆ หากไม่มีการรักษาให้ดี คงจะหนีไม่พ้นสนิมแน่นอน

    วันนี้เรามีสิ่งของใกล้ตัว ที่สามารถนำมากำจัดสนิมได้ แค่ไม่กี่วิธีมาฝากกัน

     

     

    1.เบกกิ้งโซดา

                  นำอุปกรณ์ไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน และสะบัดให้พอหมาด โรยเบกกิ้งโซดาลงไปให้ทั่วบริเวณเครื่องมือ

    ทิ้งไว้ป็นเวลา 1 ชม. หรือมากกว่านั้น และใช้แปรงขัดออกล้างออกด้วยน้ำเปล่าเช็ดให้แห้ง

     

     

    2.น้ำส้มสายชู

                           นำเครื่องมือไปแช่ไว้ในน้ำส้มสายชู  ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้ว นำมาขัดด้วยแปรง หากแช่ไม่ได้ก็นำ

    ผ้าไปชุบน้ำส้มสายชูและไปห่อไว้

     

     

     

     

    3.มันฝรั่งและน้ำยาล้างจาน

                    นำมันฝรั่งมาผ่าครึ่งไปชุบกับน้ำยาล้างจาน ใช้มันฝรั่งเป็นตัวขัดให้ทั่วบริเวณที่มีสนิม

     

    4.กรดซิตริก

                        นำกรดซิตริก ใส่ไปในน้ำร้อนแล้วเอาเครื่องมือ ที่เป็นสนิมแช่ไว้ทั้งคืนตอนเช้าจึงขัดด้วยแปรงออก

     

     

    5.มะนาวและเกลือ

                นำเกลือไปทาให้ทั่วเครื่องมือ โดยใช้มะนาวผ่าครึ่งในการขัดออก หรือ ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง หลังจาก

    ขัดเสร็จแล้วเช็ดให้แห้งนำไปผึ่งแดด

     

     

    6.ครีมออฟทาร์ทาร์(ที่ใช้ทำขนม)

                  ผสมครีมออฟทาร์ทาร์ เข้ากับน้ำส้มสายชู นำไปป้ายตรงคราบ ที่เกิดสนิมทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง

    แล้วนำฟองน้ำมาถูออก 

     

     

    7.บอแรกซ์

                 นำผงบอแรกซ์ผสมกับน้ำมะนาว จนได้เนื้อที่เข้มข้น และนำไปป้ายลงบนที่เป็นสนิม

    ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงทำการขัดออก

     

     

    8.หัวหอม

                   นำกระดาษทรายมาขัด เพื่อกำจัดเนื้อสนิมออกก่อน 1 ชั้น จากนั้นใช้หัวหอมแดง ที่หั่นเตรียมไว้

    มาถูทับรอยสนิม แล้วล้างออกด้วยน้ำร้อนจนกระทั่งสนิมหลุด

     

  • การที่จะรับงานต่อจากผู้รับเหมาเดิม อย่าลืมสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา เราจะได้แก้ไขทัน วันนี้เรามีตัวอย่าง ก่อนรับงานต่อจากผู้รับเหมาเจ้าเดิม ว่าควรเช็คอะไรบ้างมาฝากกัน อย่าลืมเช็คให้ชัวร์ก่อนรับงาน