ศัพท์ช่างวันนี้ ช่องเปิด
By vLIVING PRO03 ธันวาคม 2567 06:36:14

หากพูดถึงช่องเปิด นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบ้าน เพราะบ้านหากไม่มีช่องเปิด จะทำให้เกิดความอับชื้น มืดทึบ การที่เรามีช่องเปิดไม่ว่าจะเป็น ทั้งช่องลม ช่องแสง ถือเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับช่องเปิดมาฝากกัน

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • เชือกหรือเส้นด้ายสามารถนำมาทำ D.I.Y สำหรับตกแต่งบ้านได้หลากหลาย และนี่คืออีก 1 ไอเดียในการนำเชือกมาทำเป็นโคมไฟสุดสวย และไม่ซ้ำใคร ซึ่งขั้นตอนการทำก็แสนจะง่ายดาย สามารถทำเองได้ แถมยังประหยัดงบประมาณอีกต่างหาก เรามาดูภาพตัวอย่างของโคมไฟเชือกกันดีกว่าว่ามีแบบไหน และขั้นตอนการทำเป็นยังไงบ้าง?

      

    อุปกรณ์สำหรับการทำโคมไฟจากเส้นด้าย หรือเชือกมีดังนี้

    1.   เชือกป่าน หรือเส้นด้าย (สีตามใจชอบ)

    2.   กาวลาเท็กซ์

    3.   ชามหรือกะละมัง

    4.   น้ำเปล่า

    5.   กรรไกร

    6.   ลูกบอลยาง หรือลูกโป่งขนาดต่างๆ ตามต้องการที่จะใช้ทำโคมไฟ

    7.   เข็ม หรือ ไม้ลูกชิ้นปลายแหลม

    8.   สายไฟปาร์ตี้ หรือชุดหลอดไฟ

    9.   ปากกาเมจิก

    10. เข็มสำหรับปล่อยลมลูกบอล

     

    วิธีการทำ

    1. ใช้ปากกาเมจิกวาดช่องว่างให้ได้ขนาดที่พอดี เพื่อที่จะนำหลอดไฟใส่เข้าไปได้ 

     

     

    2. เป่าลูกบอลยาง หรือลูกโป่งที่เตรียมไว้ให้มีขนาดพอดีกับโคมไฟที่เราต้องการ

     

    3. ใส่น้ำเปล่าลงไปในชามที่เตรียมไว้ เทกาวตามลงไปในชาม แล้วคนให้เข้ากัน

     

     

    4. เอาเชือกหรือด้ายที่เตรียมไว้ลงไปชุบในน้ำกาว

      

     

    5. แล้วเอาเชือก หรือด้ายมาพันรอบลูกโป่ง ทับไปทับมาเหมือนตาข่ายหรือรังนกจนเป็นลูกกลมๆเต็มลูกโป่ง หรือลูกบอลยาง

      

     

    6. ใช้ไดร์เป่าผมเป่า หรือทิ้งไว้จนกาวแห้ง

      

     

    7. ใช้เข็มเจาะลูกโป่งให้แตก หรือปล่อยลมออกจากลูกบอลยาง แล้วเอาลูกโปร่งออกมา

      

     

     

    8. เอาโคมไฟไปใส่เข้าไปในโคมเชือกหรือด้าย แล้วนำไปติดตั้งตามจุดต่างๆของบ้านได้ตามใจชอบเลยค่ะ 

        

       

     

    ลองนำเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ และลองทำกันดูนะคะ สามารถทำได้ทั้งโคมไฟเส้นด้ายแบบเล็กๆ และโคมไฟขนาดใหญ่ที่ทำจากเชือก นับเป็นของแต่งบ้านอีกชิ้นที่สวยงาม และให้ความโรแมนติกไม่เบาเลยค่ะ 

     

    ของคุณภาพประกอบจาก pinterest

  • หากจะกำหนดระยะตำแหน่ง เพื่อความแม่นยำ คงจะต้องใช้การตีเต๊า เป็นตัวช่วยแล้วตีเต๊าคืออะไรทำอะไรได้บ้าง มาดูกัน?
    .

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  •          เชื่อว่ามีคนมากมายที่กำลังคิดว่าอยากจะสร้างบ้านใหม่ แต่อาจยังลังเลใจอยู่ เลือกไม่ถูกว่าจะสร้างบ้านไม้ หรือบ้านปูนดี  ดังนั้น เพื่อให้ได้เห็นถึงความแตกต่างของบ้านไม้ กับ บ้านปูน อย่างชัดเจน เราจึงได้นำข้อดี – ข้อเสีย ของบ้านทั้ง 2 แบบ มาเปรียบเทียบให้ดูกัน ดังนี้

     

      

     

    บ้านไม้

              ควรเลือกใช้ไม้แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ไม้บางประเภทอาจจะเหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือบางประเภท เหมาะสำหรับทำโครงสร้างบ้าน เป็นต้น

              บ้านไม้ เป็นบ้านที่มีความสวยงาม คลาสสิก และอบอุ่น อากาศถ่ายเทได้ดี โปร่ง โล่ง สบาย มีความยืดหยุ่นสูง ง่ายต่อการซ่อมแซมแก้ไข รื้อถอน หรือตกแต่งเพิ่มเติม และสามารถนำไม้กลับมาใช้ใหม่ได้

     

     

     

     

     

    1. ไม้เต็ง เนื้อไม้มีผิวหยาบ เหมาะสำหรับงานที่โชว์ลวดลายของไม้ ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับใช้กับงานภายนอก และงานโครงสร้างเป็นหลัก เช่น เสา และคาน

    2. ไม้แดง นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างบ้าน เช่น ใช้ทำพื้นบ้าน หรือวงกบประตู หน้าต่าง เป็นต้น

    3. ไม้มะค่า มีความแข็งแรงมาก ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ทำพื้นไม้ และบันไดบ้าน

    4. ไม้ตะแบก เหมาะสำหรับใช้กับงานภายในเท่านั้น เช่น พื้นภายในบ้าน และประตู เป็นต้น

    5. ไม้ตะเคียน มีความคงทนสูง ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทำวงกบ และพื้นไม้

    6. ไม้สัก มีลายไม้ที่สวยงาม และคงทน เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างบ้าน หรือส่วนต่างๆ ของบ้านที่ต้องการความสวยงาม เช่น บานประตู หน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

    7. ไม้ยางพารา เหมาะสำหรับใช้ทำประตู วงกบ พื้น บันได และเฟอร์นิเจอร์

    8. ไม้จำปา ส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานภายใน เช่น ประตู เป็นต้น

     

    ข้อควรระวังสำหรับบ้านไม้ คือ

    1. จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านไม้ ต้องมีฝีมือที่ประณีต เรียบร้อย และสวยงาม
    2. ในปัจจุบันไม้หายากมากขึ้น จึงทำให้ไม้มีราคาแพง
    3. ปลวก และแมลงสามารถกันกินไม้ได้
    4. เสื่อมโทรม ผุ พังได้ตามอายุการใช้งาน และตามสภาพดินฟ้าอากาศ

     

    การป้องกัน และการดูแลแก้ไขสำหรับบ้านไม้ คือ

    1. ประตู หน้าต่าง และโครงสร้างไม้ภายนอก ควรทาด้วยสีน้ำมัน สีพลาสติก สำหรับใช้กับงานไม้โดยเฉพาะ หรือสามารถใช้สีย้อมไม้ก็ได้เช่นกัน ทาประมาณ 2 – 3 ชั้น การทาแต่ละชั้นควรทิ้งระยะให้แห้งอย่างน้อยประมาณ 6 ชั่วโมง
    2. ไม้บริเวณระเบียงนอกชาน ที่อยู่กลางแจ้ง ควรขัดผิว และทาด้วยสีย้อมไม้สำหรับทาภายนอกโดยเฉพาะ ทุกๆ 3 ปี
    3. พื้นไม้ และบันไดภายในบ้าน ควรทาน้ำยากันปลวกให้ทั่วก่อน แล้วจึงเคลือบด้วยน้ำยาโพลียูรีเทน เพื่อช่วยป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนจากการใช้งาน และช่วยเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย
    4. เฟอร์นิเจอร์ไม้ ควรขัดเคลือบผิวก่อน เพื่อไม่ให้เนื้อไม้เสีย หรือดูดซับความชื้นมากจนเกินไป จากนั้นจึงเคลือบด้วยแล็กเกอร์ เพื่อช่วยให้ผิวไม้เงางามมากยิ่งขึ้น การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ควรใช้ผ้านุ่มๆชุบน้ำที่ผสมกับสบู่จางๆ เช็ดทำความสะอาด หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเฉพาะก็ได้ ใช้ง่าย และยังสามารถช่วยบำรุงผิวไม้ได้อีกด้วย
     

    บ้านปูน

              ความแข็งแรงของบ้านปูน จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่ใช้ ส่วนผสมของคอนกรีต เทคนิคการก่ออิฐ ฉาบปูน และงานระบบต่างๆ เช่น งานฝ้าเพดาน งานประปา และงานไฟฟ้า เป็นต้น

     

     

     

              บ้านปูนมีลักษณะที่ทันสมัย และสวยงาม แต่ผนังของบ้านปูนจะมีความทึบแสง ไม่โปร่งเท่ากับบ้านไม้ ดังนั้น อาจแก้ไขได้โดย การจัดแปลนบ้านให้ลมสามารถพัดผ่านเข้าภายในบ้านได้ และจัดให้ห้องที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อยู่ในด้านที่โดนแดดจัดๆในตอนกลางวัน เช่น ห้องเก็บของ เป็นต้น หรือทำช่องระบายอากาศให้มากขึ้น และทำหน้าต่างให้กว้างขึ้นด้วย

     

    ข้อควรระวังสำหรับบ้านปูน คือ

    ควรใช้ช่างที่มีความชำนาญ ไม่เช่นนั้น อาจทำให้เกิดรอยร้าวได้ ดูไม่สวยงาม และอาจเกิดคราบดำขึ้นที่ผนัง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ และชนิดของปูนให้เลือกใช้มากมาย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้ถูกต้องตามแต่ละประเภทด้วย และสำหรับผู้ที่ต้องการจะรีโนเวทบ้านปูน ต้องทำการทุบ หรือรื้อถอนของเก่าทิ้งก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ยกเว้น ประตู หน้าต่าง วงกบ บันได ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถ้าอยู่ในสภาพที่ดี

     

              สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจ หรือกำลังสับสนอยู่ บทความนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาช่วยพิจารณา ในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าจะเลือกสร้างบ้านแบบไหนดี จึงจะเหมาะสมสไตล์ และการอยู่อาศัยของเรามากที่สุด

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest

  • ตามหลักฮวงจุ้ยนั้น โครงสร้างของบ้าน เช่น เสา คาน หรือเพดาน เป็นต้น ถือว่ามีความสำคัญมาก บ้านควรมีรูปทรงที่ดี และควรเลือกสีของหลังคาให้เข้ากับสมาชิกในบ้าน รวมถึงการเลือกรูปทรงของหลังคาที่เหมาะสมด้วย ดังนี้

     

    1. รูปทรงของบ้านที่ดี ควรมีลักษณะเป็นตอนลึก หรือรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งถือว่าเป็นฮวงจุ้ยที่ดี

     

     

     

        2.รูปทรงของหลังคา มีดังนี้

     

     

    • หลังคาทรงจั่ว เช่น บ้านทรงไทย หลังคาจะเทออกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหลังคาที่เทออกด้านข้างทั้ง 2 ด้านนั้น จะทำให้กระแสชี่ไหลออกจากด้านข้างหมด

     

     

     

    • หลังคาทรงปั้นหยา ช่วยป้องกันแดด และฝนได้ทุกทาง ทำให้ตัวบ้านไม่ปะทะกับลม แดด และฝนมากเกินไป ด้านเฉียงทั้ง 4 ด้านของหลังคา ทางฮวงจุ้ยถือว่าดีมาก เพราะกระแสชี่สามารถไหลได้รอบบ้าน ซึ่งหมายถึงทรัพย์สิน เงินทองไหลเข้าบ้าน

     

     

     

    • หลังคาแบบโค้ง หรือตัดสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่จะเป็นตึกแถว หรือบ้านที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ แต่ไม่สามารถเก็บพลังชี่ได้ และเก็บทรัพย์ไม่อยู่

     

     

     

    • หลังคาแบบ 2 จั่ว ไม่เป็นที่นิยม เพราะกระแสชี่จะไหลชนกันเอง ระหว่างหลังคาทรงจั่วทั้ง 2 หลัง ส่งผลทำให้คนในบ้านแตกแยก ไม่ลงรอยกัน ถ้าเป็นเรือนหอ อาจส่งผลต่อชีวิตคู่ได้ แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำหลังคาทรง 2 จั่ว ควรทำให้หลังคาไม่เท่ากัน เพื่อกำหนดฐานะของเจ้าของบ้านให้ชัดเจน และเจ้าของบ้านควรอยู่บ้านหลังที่มีหลังคาจั่วใหญ่ที่สุด ส่วนหลังคาจั่วเล็ก เป็นตำแหน่งของบริวาร

     

     

    ควรใช้รูปทรงของหลังคาให้เข้ากับธาตุของบ้าน และเจ้าของบ้านด้วย โดยปรับให้มีความสมดุล และเหมาะสมกัน ดังนี้

     

    สีประจำตามปีนักษัตร

     

     

     

    สีของหลังคาที่เหมาะสมกับวันเกิด มีดังนี้

    • วันอาทิตย์ เหมาะกับหลังคาสีแดงเลือดหมู และสีทองเข้ม ช่วยเสริมอำนาจ บารมี ธุรกิจการค้าขายดี ร่ำรวย
    • วันจันทร์ เหมาะกับหลังคาสีฟ้าอ่อน หรือสีฟ้าน้ำทะเล ช่วยเสริมเรื่องความรัก มีเสน่ห์กับคนรอบข้าง และมีคนคอยช่วยเหลือ
    • วันอังคาร เหมาะกับหลังคาสีฟ้าอ่อน และสีเทา ช่วยให้คนในบ้านมีชีวิตที่สงบสุข ร่มเย็น ไม่ทะเลาะกัน
    • วันพุธ เหมาะกับหลังคาสีเขียวอ่อน สีดำ และสีเทา ช่วยให้คนในบ้านมีความสงบสุข มีชีวิตชีวา และมีความคิดสร้างสรรค์
    • วันพฤหัสบดี เหมาะกับหลังคาสีเขียว สีน้ำตาล สีเทา และสีโอ๊ค ช่วยให้คนในบ้านมีความสุข สบาย ร่มเย็น และปลอดภัย
    • วันศุกร์ เหมาะกับหลังคาสีเขียว สีส้ม และสีควันบุหรี่ ช่วยให้ครอบครัวอบอุ่น สามัคคี ปลอดภัย และเข้มแข็ง
    • วันเสาร์ ใช้ได้กับทุกสี แต่ควรเป็นสีโทนอ่อน ช่วยให้มีชีวิตที่เป็นมงคล มีความสุข เงินทองไหลเข้าบ้าน

     

     

     

    1. เสา ทุกต้นที่อยู่ในบ้าน ควรมีลักษณะกลม เพราะฮวงจุ้ยจะดีกว่าเสาเหลี่ยม ช่วยให้พลังชีวิตไหลผ่านได้ง่าย

     

     

     

     

    4. คาน ที่อยู่ภายในบ้านจะมีผลต่อผู้ที่อยู่อาศัยภายในบ้าน ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า

    • คานที่มีขนาดใหญ่มากๆ จะทำให้รุสึกกดดัน
    • คานที่อยู่เหนือตียงนอน จะทำให้เจ้าของห้องรู้สึกปวดศีรษะ
    • คานที่อยู่เหนือช่องท้องของผู้นอน จะทำให้รู้สึกปวดท้อง
    • คานที่อยู่เหนือข้อเท้า ทำให้มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว
    • คานที่อยู่เหนือเตาไฟ หรือโต๊ะกินข้าว จะถูกขัดลาภ หรือสูญเสียเงิน

     

     

     

     

    1. เพดาน ควรมีความสูงที่ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ ห้องที่เพดานต่ำเกินไป จะทำให้อึดอัด มีผลต่ออารมณ์ และความคิด

     

     การสร้างบ้านที่ตรงตามหลักฮวงจุ้ยนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สมาชิกทุกคนครอบครัวได้รับแต่สิ่งดีๆ มีความสุข อบอุ่น ร่ำรวย ร่มเย็น และปลอดภัย ค่ะ

     

    ขอบคุณภาพประกอบจาก Pinterest