การ์ตูนซีรีย์ ตอนที่ 2 "อิฐ" อิฐมีหลายประเภท หลายชนิด และแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน มาดูกันดีกว่าว่า อิฐประเภทไหน เหมาะกับงานอะไรบ้าง?
- บทความ
- ซีรีย์ การ์ตูนภาพ ปูน อิฐ หิน ทราย เหล็ก ตอนที่ 2 เรื่อง "อิฐ"

-
ให้ความรู้ศัพท์ช่างวันนี้ ยัดหัวปลาสร้อยBy vLIVING PRO16/03/2561
ยัดหัวปลาสร้อย คืออะไร??
หลายคนคงจะสงสัยคำนี้ว่าเกี่ยวอะไรกับงานก่อสร้างมาดูกันเลยคร้าบบ
-
ให้ความรู้DIY เปลี่ยนเชือกธรรมดาให้กลายเป็นโคมไฟสุดเดิร์นBy vLIVING PRO21/02/2561
เชือกหรือเส้นด้ายสามารถนำมาทำ D.I.Y สำหรับตกแต่งบ้านได้หลากหลาย และนี่คืออีก 1 ไอเดียในการนำเชือกมาทำเป็นโคมไฟสุดสวย และไม่ซ้ำใคร ซึ่งขั้นตอนการทำก็แสนจะง่ายดาย สามารถทำเองได้ แถมยังประหยัดงบประมาณอีกต่างหาก เรามาดูภาพตัวอย่างของโคมไฟเชือกกันดีกว่าว่ามีแบบไหน และขั้นตอนการทำเป็นยังไงบ้าง?
อุปกรณ์สำหรับการทำโคมไฟจากเส้นด้าย หรือเชือกมีดังนี้
1. เชือกป่าน หรือเส้นด้าย (สีตามใจชอบ)
2. กาวลาเท็กซ์
3. ชามหรือกะละมัง
4. น้ำเปล่า
5. กรรไกร
6. ลูกบอลยาง หรือลูกโป่งขนาดต่างๆ ตามต้องการที่จะใช้ทำโคมไฟ
7. เข็ม หรือ ไม้ลูกชิ้นปลายแหลม
8. สายไฟปาร์ตี้ หรือชุดหลอดไฟ
9. ปากกาเมจิก
10. เข็มสำหรับปล่อยลมลูกบอล
วิธีการทำ
1. ใช้ปากกาเมจิกวาดช่องว่างให้ได้ขนาดที่พอดี เพื่อที่จะนำหลอดไฟใส่เข้าไปได้
2. เป่าลูกบอลยาง หรือลูกโป่งที่เตรียมไว้ให้มีขนาดพอดีกับโคมไฟที่เราต้องการ
3. ใส่น้ำเปล่าลงไปในชามที่เตรียมไว้ เทกาวตามลงไปในชาม แล้วคนให้เข้ากัน
4. เอาเชือกหรือด้ายที่เตรียมไว้ลงไปชุบในน้ำกาว
5. แล้วเอาเชือก หรือด้ายมาพันรอบลูกโป่ง ทับไปทับมาเหมือนตาข่ายหรือรังนกจนเป็นลูกกลมๆเต็มลูกโป่ง หรือลูกบอลยาง
6. ใช้ไดร์เป่าผมเป่า หรือทิ้งไว้จนกาวแห้ง
7. ใช้เข็มเจาะลูกโป่งให้แตก หรือปล่อยลมออกจากลูกบอลยาง แล้วเอาลูกโปร่งออกมา
8. เอาโคมไฟไปใส่เข้าไปในโคมเชือกหรือด้าย แล้วนำไปติดตั้งตามจุดต่างๆของบ้านได้ตามใจชอบเลยค่ะ
ลองนำเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ และลองทำกันดูนะคะ สามารถทำได้ทั้งโคมไฟเส้นด้ายแบบเล็กๆ และโคมไฟขนาดใหญ่ที่ทำจากเชือก นับเป็นของแต่งบ้านอีกชิ้นที่สวยงาม และให้ความโรแมนติกไม่เบาเลยค่ะ
ของคุณภาพประกอบจาก pinterest
-
ให้ความรู้ศัพท์ช่างวันนี้ คานหลัก/คานซอยBy vLIVING PRO30/04/2561
คานหลักและคานซอยเป็นหัวใจสำคัญในโครงสร้าง หากไม่มีสองสิ่งนี้อาจทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง
ลองมาดูกันเลยครับว่าประโยชน์หลักๆ ของคานหลัก และ คานซอยมีหน้าที่อะไร
-
ให้ความรู้ส่วนประกอบของโครงหลังคาBy vLIVING PRO17/05/2560
หลังคา เป็นส่วนที่ช่วยปกป้องความร้อน แดด และฝนให้กับบ้านของเรา ดังนั้นโครงหลังคาจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องสามารถรองรับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม และการติดตั้งอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ได้หลังคามีความคงทนแข็งแรงด้วย
ส่วนประกอบของโครงหลังคา
1. แป หรือระแนง Batten คือ ไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน เพื่อรองรับกระเบื้องหลังคาประเภทต่างๆ และวางห่างกันตามขนาดของกระเบื้องที่ใช้ โดยวางขนานกับแนวอกไก่
2. จันทัน Rafter คือ ส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา พาดอยู่บนอเส และอกไก่ เพื่อรองรับแปสำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา จันทัน มีทั้งที่วางอยู่บนหัวเสา และที่ไม่ได้วางพาดอยู่บนหัวเสา โดยทั่วไปจันทันจะวางเป็นระยะทุกๆ 1 เมตร โดยระยะห่างของจันทัน จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแปด้วย
3. อกไก่ Ridge เปรียบเหมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคาทรงจั่วหรือทรงปั้นหยา จะวางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนักจันทันตามแนวสันหลังคา
4. ดั้ง King Post คือ ส่วนที่อยู่ในแนวสันหลังคา ซึ่งอยู่บนขื่อ เพื่อรองรับอกไก่แทนเสาจริงของอาคารโดยมีอกไก่วางพาดตามแนวสันหลังคาเป็นตัวยึด โดยทั่วไป
5. ขื่อ Tie Beam หรือเรียกว่า สะพานรับดั้ง คือ ส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสา ในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสา และช่วยยึดโครงผนัง
6. อเส Stud Beam คือ ส่วนของหลังคาที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ช่วยยึดและรัดหัวเสา รวมทั้งช่วยรับแรงจากโครงหลังคาที่ถ่ายลงสู่เสา โดยทั่วไปอเสมักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา
7. เชิงชาย Eaves คือ ไม้ที่ใช้ปิดปลายของจันทันทุกตัวตามแนวชายคามีไม้ปิดเป็นลอน ซ้อนทับเชิงชายและปิดช่องโค้งใต้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา และช่วยปรับแนวชายคาที่ยึดหัวจันทันให้เป็นแนวตรง สวยงาม รวมทั้งช่วยป้องกันการผุเปื่อยของไม้ที่ปลายจันทัน
8. ปั้นลม Eaves คือ ส่วนที่ใช้ปิดหัวท้ายบริเวณริมโครงสร้างหลังคาจั่ว พาดอยู่บนหัวแป และด้านล่างของครอบข้างหลังคาช่วยกันลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยกันน้ำฝนไม่ให้เข้าในบ้าน ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้จริง หรือไม้สังเคราะห์
หลังคาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้าน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ถูกต้อง และรอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น การซ่อมแซมจะค่อนข้างยุ่งยาก
-
ให้ความรู้โดนผู้รับเหมาทิ้งงานแก้ไขยังไงดี?By vLIVING PRO25/11/2567
ในงานก่อสร้าง ต้องพิจารณาดูว่างานที่ทำไม่เสร็จ หรือว่างานที่ทำไปกลางคันแล้ว ทำไม่เสร็จจริงเพราะว่างานเหลือเยอะแล้วไม่ทำต่อ หรือเป็นกรณีที่ เบิกเงินไปแล้วหนีไปเลย ลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน เพราะว่าเงินส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้าน อาจจะต้องนำไปจ่ายให้ช่างใหม่มาเก็บงานต่อ และอาจเกิดงบบานปลายได้เพราะ ช่างที่เข้ามาใหม่อาจจะคิดราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นว่าช่างเก่าที่ทำไว้งานไปถึงไหนแล้ว สาเหตุเนื่องจากไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนจึงมีการเผื่อค่าเก็บแก้งาน
1.ประเด็นและสาเหตุการทิ้งงาน
หากช่างทำงานไม่สำเร็จ หรือทิ้งงานไปกลางคัน โดยที่ปริมาณงานยังเหลืออีกเยอะ หากช่างเบิกงวดงาน ไปแล้วปิดมือถือหรือติดต่อยาก ผู้ว่าจ้างอาจจะต้องพิจารณาไม่จ่ายเงิน ในส่วนที่ทำไป แล้วเพราะ เงินที่เหลือ จะต้องนำไปจ้างช่างที่ว่าจ้างเข้ามาใหม่ที่จะเข้ามาต่องาน ช่างใหม่อาจจะคิดเงินราคาแพงกว่าเพราะไม่รู้ว่าของเดิมได้ทำไว้แย่แค่ไหน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บงานมากขึ้น
2.การจ้างงานช่างหรือผู้รับเหมา ควรทำสัญญาให้ชัดเจน ว่าเบิกงวดงานได้ตอนไหน หากไม่มีเอกสารที่จะระบุได้ชัดเจนอาจจะทำให้ช่าง เบิกเงินเกินกับปริมารงานที่ทำ เจ้าของบ้านมารู้ตัวอีกที เงินอาจจะหมดแล้วแต่งานยังไม่ไปถึงไหนเลย หรือ หากถึงเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าของบ้านดึงเงินไม่จ่ายก็ต้องมาดูที่สัญญาว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
ในการทำสัญญากับรับเหมาควรจะขอเอกสาร เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านเดิม ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งในการอ้างอิง โดยทั่วไปช่างที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะไม่ยอมให้หลักฐานประกอบเพื่อแนบในสัญญา นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีปัญหาการเงินตั้งแต่แรก เพราะตอนทำงานจริงก็มีโอกาสเกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันและอาจทิ้งงานได้
3. จ่ายตามจริง อ้างอิงราคากลาง หรือ ที่ตกลงไว้
จ่ายเท่าไหร่ ขึ้นกับการเจรจา โดยทั่วไปถ้าคุยกันเองได้ก็จบ แต่คุยสรุปตัวเลขกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาล ก็จะให้คนกลาง สภาวิศวกรมาประเมิน
4.สัญญา ฟ้องได้ แต่คุ้มไหม?
ไม่แน่ใจ ค่าฟ้องก็หลายหมื่นนะ มันจะมีอัตราเท่าไหร่ ไม่แน่ใจ ต้องเช็คทนาย
อีกเรื่องคือ ทาง ผรม. มีทรัพย์อะไรให้ยึดมั้ย แล้วถ้าเค้าไม่ได้มีชื่อถือครองสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถ เป็นชื่อพ่อแม่ ก็ยึดไม่ได้นะ หรือ ถ้าเค้าทำงานเป็นพนักงานประจำ สมมติว่า ตามไปทำเรื่องแจ้งขอหักเงินจากเจ้านายใหม่ ถ้าเค้าย้ายงาน เราก็ต้องสืบว่ามันย้ายไปทำทีไ่หน แล้วต้องทำเรื่องใหม่หมด ยุ่งยาก

แก้ไขความคิดเห็น