รอยร้าวของบ้านเกิดจากสาเหตุอะไร?
By vLIVING PRO13 ธันวาคม 2567 02:15:12

ปัญหารอยร้าวที่เกิดขึ้น ของบ้าน ที่พบเจอกันบ่อยๆ ที่เกิดขึ้นจริงๆแล้วเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เรามีประเภทของรอยร้าวแต่ละประเภทมาฝากกัน

1.รอยร้าวเสาเอ็น- ทับหลัง

ส่วนมากจะเป็นที่หน้าต่างไม้ เพราะเป็นวัสดุที่มีความยืดหดตัวเมื่ออุณหภูมิและความชื้นมีความเปลี่ยนแปลง

 ทำให้ปูนที่ฉาบไว้เกิดรอยร้าวได้ ไม่เป็นอันตรายมาก

2.ผนังแตกลายงา

เกิดจากการผสมปูนฉาบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือผนังที่ก่อไว้เกิดการหดตัวจากอุณหภูมิจึงทำให้ปูนฉาบเกิดเป็นรอยไม่อันตรายไม่มีผลต่อโครงสร้าง

 

3.รอยร้าวที่รอยต่อระหว่างผนังกับเสาและคาน

เกิดจากเวลาก่อสร้างไม่ได้ทำการเสียบเหล็กหนวดกุ้ง เพื่อทำการยึดเกาะกับเสา หรืออาจจะเสียบเหล็กหนวดกุ้งไม่แน่นพอ ทำให้เกิดรอยร้าว

4.รอยแตกลายงาที่พื้น

เกิดจากพื้นที่ไม่ได้ปูวัสดุปิดผิวเช่น คอนกรีตขัดมัน เพราะคอนกรีตมีความหนามากเกินไป ทำให้เกิดรอยแตกลายงาได้ แต่ไม่ทำให้เกิดอันตราย ควรปูวัสดุปิดผิวทับไปเช่นกระเบื้องยาง

5.รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง

เป็นรอยร้าวที่พื้นแอ่นตัวและคานรับน้ำหนักมากเกินไป หากเกิดรอยร้าวประเภทนี้ ให้เช็คดูว่ามีของที่มีน้ำหนักมากอยู่ตรงนั้นไหม หากมีให้ทำการย้ายไปทันทีเพื่อช่วยลดน้ำหนักตรงนั้น

 

6.รอยร้าวที่มีสนิมเหล็กเสริมใต้พื้น

เกิดจากพื้นดาดฟ้ามีน้ำขังจนทำให้ซึมเข้ามาที่เหล็กภายในพื้นคอนกรีต ทำให้เกิดสนิม  ขยายตัวทำให้คอนกรีตที่หุ้มเหล็ก ร่วงออกมาทำให้พื้นไม่สามารถรับน้ำหนักมากๆได้

7.รอยร้าวทแยงมุมบนผนัง

สาเหตุมาจากฐานรากมีการทรุดตัว โครงสร้างบ้านไม่แข็งแรง ควรรีบให้วิศวกรมาดูโดยด่วนเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

 

8.รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาทบริเวณกลางพื้น

สาเหตุมาจากพื้นด้านบนได้รับน้ำหนักมากจนเกินไปที่จะรับน้ำหนักได้ ควรรีบแก้ไขก่อนพื้นจะถล่มลงมา

9.รอยร้าวตามขอบและคานพื้น

 

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  •      ในงานก่อสร้าง ต้องพิจารณาดูว่างานที่ทำไม่เสร็จ หรือว่างานที่ทำไปกลางคันแล้ว ทำไม่เสร็จจริงเพราะว่างานเหลือเยอะแล้วไม่ทำต่อ  หรือเป็นกรณีที่ เบิกเงินไปแล้วหนีไปเลย ลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน เพราะว่าเงินส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้าน อาจจะต้องนำไปจ่ายให้ช่างใหม่มาเก็บงานต่อ  และอาจเกิดงบบานปลายได้เพราะ ช่างที่เข้ามาใหม่อาจจะคิดราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นว่าช่างเก่าที่ทำไว้งานไปถึงไหนแล้ว สาเหตุเนื่องจากไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนจึงมีการเผื่อค่าเก็บแก้งาน

     

     

    1.ประเด็นและสาเหตุการทิ้งงาน

    หากช่างทำงานไม่สำเร็จ หรือทิ้งงานไปกลางคัน โดยที่ปริมาณงานยังเหลืออีกเยอะ หากช่างเบิกงวดงาน ไปแล้วปิดมือถือหรือติดต่อยาก ผู้ว่าจ้างอาจจะต้องพิจารณาไม่จ่ายเงิน ในส่วนที่ทำไป แล้วเพราะ เงินที่เหลือ จะต้องนำไปจ้างช่างที่ว่าจ้างเข้ามาใหม่ที่จะเข้ามาต่องาน ช่างใหม่อาจจะคิดเงินราคาแพงกว่าเพราะไม่รู้ว่าของเดิมได้ทำไว้แย่แค่ไหน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บงานมากขึ้น

     

    2.การจ้างงานช่างหรือผู้รับเหมา ควรทำสัญญาให้ชัดเจน ว่าเบิกงวดงานได้ตอนไหน หากไม่มีเอกสารที่จะระบุได้ชัดเจนอาจจะทำให้ช่าง เบิกเงินเกินกับปริมารงานที่ทำ เจ้าของบ้านมารู้ตัวอีกที เงินอาจจะหมดแล้วแต่งานยังไม่ไปถึงไหนเลย หรือ หากถึงเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าของบ้านดึงเงินไม่จ่ายก็ต้องมาดูที่สัญญาว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน

     

    ข้อแนะนำเพิ่มเติม

    ในการทำสัญญากับรับเหมาควรจะขอเอกสาร เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านเดิม ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งในการอ้างอิง โดยทั่วไปช่างที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะไม่ยอมให้หลักฐานประกอบเพื่อแนบในสัญญา นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีปัญหาการเงินตั้งแต่แรก เพราะตอนทำงานจริงก็มีโอกาสเกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันและอาจทิ้งงานได้

    3. จ่ายตามจริง อ้างอิงราคากลาง หรือ ที่ตกลงไว้

     จ่ายเท่าไหร่ ขึ้นกับการเจรจา โดยทั่วไปถ้าคุยกันเองได้ก็จบ แต่คุยสรุปตัวเลขกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาล ก็จะให้คนกลาง สภาวิศวกรมาประเมิน

     

     

     

     

    4.สัญญา ฟ้องได้ แต่คุ้มไหม?

    ไม่แน่ใจ ค่าฟ้องก็หลายหมื่นนะ มันจะมีอัตราเท่าไหร่ ไม่แน่ใจ ต้องเช็คทนาย

     อีกเรื่องคือ ทาง ผรม. มีทรัพย์อะไรให้ยึดมั้ย แล้วถ้าเค้าไม่ได้มีชื่อถือครองสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถ เป็นชื่อพ่อแม่ ก็ยึดไม่ได้นะ หรือ ถ้าเค้าทำงานเป็นพนักงานประจำ สมมติว่า ตามไปทำเรื่องแจ้งขอหักเงินจากเจ้านายใหม่  ถ้าเค้าย้ายงาน เราก็ต้องสืบว่ามันย้ายไปทำทีไ่หน แล้วต้องทำเรื่องใหม่หมด ยุ่งยาก

  • มาทำความรู้จัก

    และเลือกใช้ปลั๊กไฟให้เหมาะกับบ้านของเรากันนะครับ :)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เพื่อนๆ ลองนำข้อมูลไปปรับใช้กับบ้าน หรืออาคาร

    ให้เหมาะสมและดูสวยงามกันนะครับ...

     

     

     

     

     

  • เมื่อลมร้อนพัดผ่านมาเมื่อไร บ้านก็จะร้อนจนกลายเป็นเตาอบ เพราะแสงแดดแผดเผา เนื่องจากความร้อนที่เข้ามาภายในบ้านส่วนใหญ่มักจะมาจากหลังคา ดังนั้นหากต้องการจะแก้ปัญหาบ้านร้อนให้ได้ผลดี จึงควรเริ่มที่หลังคาก่อน เพื่อช่วยลดและป้องกันความร้อนจากหลังคา เพิ่มความเย็นให้กับบ้านของเรา มาฝากทุกคน ดังนี้ 

     

     

    1. ใช้หลังคาสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน    

     

     

     

     

     

     

    2. ชายคา ควรมีระยะยื่นออกมาอย่างน้อย 1 เมตร และฝ้าชายคา ควรมีช่องระบายความร้อน รวมทั้งช่องตรงฝ้าชายคายิ่งเยอะ

    ก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

     

     


     

     

     

    3. ช่องว่างใต้หลังคา ควรมีความสูงมากพอ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บความร้อนบริเวณใต้หลังคา ทำให้ความร้อนแผ่ลงมายังตัวบ้านได้น้อยลง

     

     

     

     

     

     

     

      4. การติดตั้งแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อน สามารถปูได้ทั้งบนแปรหลังคา หรือปูใต้แปหลังคาก็ได้  

     

     

     

     

     

     5. การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ฉนวนมีความหนาตั้งแต่ 2 นิ้ว – 6 นิ้ว แต่ฉนวนกันความร้อนยิ่งมีความหนามากก็จะยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องทำโครงฝ้าให้แข็งแรงมากขึ้นด้วย     

             

     

     

     

     

     

    ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก้ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่า หรือบ้านสร้างใหม่และควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วย

     

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest                  

  • ไม้พาเลทอาจดูเป็นของไร้ค่าในสายตาใครหลายๆคน เรามาชุบชีวิตไม้พาเลทให้กลับมามีชีวิต และดูมีค่า จนต้องร้องว้าวกันดีกว่าค่ะ ไอเดียการแต่งห้องนอนสวยๆ ในงบเบาๆ จากไม้พาเลท ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ หาได้ง่าย และสามารถสร้างสรรค์เตียงนอนของเราได้ตามต้องการ แถมยังไม่ซ้ำใคร เรามาดูกันดีกว่าว่าเตียงนอน DIY จากไม้พาเลท เท่ๆ แนวๆ จะมีแบบไหนบ้างที่น่าสนใจ?

     

    1. ทำเตียงไม้เตี้ยๆด้วยพาเลท
    ใครที่ต้องการแต่งห้องอย่างง่ายๆ และประหยัด สามารถนำไม้พาเลท หรือลังไม้มาทำเป็นเตียงนอนเตี้ยๆได้เลย แล้วทำให้ได้ขนาดที่รองรับกับที่นอนได้พอดี แค่นี้เราก็จะได้ห้องนอนที่มีบรรยากาศแบบดิบๆ แต่เท่ เก๋ไก๋ ให้กับห้องนอนของคุณตามสไตล์ที่ชอบกันแล้ว

     

    2. ติดล้อให้กับเตียงนอนพาเลท
    ไอเดียนี้เป็นการเพิ่มฟังก์ชั่นให้เตียงไม้พาเลท ด้วยการติดล้อเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ไป-มาได้ตามต้องการ หากเบื่อบรรยากาศในมุมเดิมๆ ก็แค่เลื่อนเตียงนอนไปมุมใหม่ๆ เท่านี้ก็เรียบร้อย

     

     

    3. ใช้ไม้พาเลททำเป็นเตียงนอนใหม่ไม่ซ้ำใคร
    ลองนำไม้พาเลทมาแยกชิ้นส่วนแล้วประกอบเป็นเตียงนอนดีไซน์ใหม่ตามใจเรา ก็คงจะสวยดูดีไปอีกแบบ อาจจะทาสีตกแต่งเพิ่มให้สวยงามอีกสักหน่อยแค่นี้ก็โอเคแล้วค่ะ

     

     

    4. เตียงไม้พาเลทมีช่องสำหรับเก็บของในตัว
    แค่ออกแบบไม้พาเลทให้เป็นเตียงนอนและมีลิ้นชักใต้เตียง สำหรับเก็บของที่รกรุงรัง หรือของกระจุกกระจิกต่างๆที่อยู่ในห้องของเราได้

     

    5. ทำเตียงไม้พาเลทแบบแขวน 
    นำไม้พาเลทมาต่อกัน แล้วร้อยเชือกยึดทั้ง 4 มุม แล้วแขวนไว้กับเพดานบ้านคล้ายเปล เตียงแบบนี้อาจจะเหมาะสำหรับคนที่ชอบความแปลกใหม่ ซึ่งให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปจากเดิม

     

    6. เตียงนอนเด็กน้อยจากไม้พาเลท
    ไม้พาเลท สามารถนำมาทำเป็นเตียงให้ลูกน้อยของคุณได้ แค่นำชิ้นส่วนของไม้พาเลทมาประกอบใหม่ ให้มีดีไซน์ที่ถูกใจทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และคุณลูก เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ

     

    ตอนนี้ใครที่กำลังคิดอยากจะเปลี่ยนเตียงนอนของตัวเองใหม่ ลองนำไอเดียต่างๆเหล่านี้ไปลองใช้ดูนะคะ แล้วจะรู้ว่าไม้พาเลทมีดีมากกว่าที่คิด แถมยังเพิ่มความภาคภูมิใจให้กันตัวเองอีกด้วย เพราะเป็นเตียงนอนที่ทำขึ้นด้วยฝีมือเราเองค่ะ

     

    ขอบคุณภาพประกอบจาก pinterest

  • การเชื่อมเต็มเหล็กนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากเชื่อมไม่ดีอาจทำให้โครงสร้างมีปัญหาได้ 

    วันนี้ผมมีบทความดีๆมาบอกกันว่า เชื่อมเต็มคืออะไร มีความสำคัญขนาดไหนมาดูกันครับ

    หากเพื่อนๆท่านไหนยังไม่ได้อ่าน เชื่อมแต้ม ติดตามอ่านได้เลยครับ