





"พุก” ส่วน เล็กๆ ของงานก่อสร้าง และการติดตั้งต่างๆ ไม่ว่างานโครงสร้างจะเล็กหรือใหญ่ ต้องมีเจ้า “พุก” ตัวนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งเสมอ งั้นเรามาดูกันว่าพุกมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และแต่ละประเภทเหมาะกับงานแบบไหน
พุกมีมากมายหลายชนิดให้เลือกตามการใช้งาน และควรเลือกพุกให้เหมาะกับงานที่จะทำด้วยนะคะ เพื่อลดความเสียหายจากงานที่เกิดขึ้น และควรเลือกพุกให้มีขนาดพอเหมาะเพื่อป้องกันไม่ให้พุกและพื้นผิวเสียหายได้ค่ะ
ยัดหัวปลาสร้อย คืออะไร??
หลายคนคงจะสงสัยคำนี้ว่าเกี่ยวอะไรกับงานก่อสร้างมาดูกันเลยคร้าบบ
พูดถึงที่ดินก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะถือว่าเป็นหลักปัจจัย 4 ในการดำรงชีพของมนุษย์ การดูแลที่ดินที่เราได้ซื้อไว้แล้ว ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างมาดูกัน
1.ควรไปดูแลที่ดินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ปล่อยไว้เป็นที่รกร้าง
2.หากไปดูที่ดินแล้วควรสอบถาม ชาวบ้านบริเวณนั้น ว่าที่ดินมีใครเข้ามาบุกรุกหรือเข้ามาวุ่นวายไหม
3.ตรวจสอบหลักหมุดว่ามีการชำรุดหรือมีการเคลื่อนย้ายไหม หากหลักหมุดหายไปสิ่งที่ควรทำคือ
3.1แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดี(ไม่ใช่แจ้งเป็นหลักฐานแค่ลงบันทึกประจำวัน)เพราะการทำลายหลักหมุดเป็นคดีอาญา
3.2แจ้งที่ดินเพื่อดำเนินการสอบหมุดรังวัดใหม่
4.รังวัดที่ดินในทุกๆ5 ปี เพราะที่ดินอาจจะเพิ่มหรือลดได้ ยิ่งที่ดินอยู่ริมแม่น้ำหรือริมตลิ่ง
5.หากมีคนเข้ามาอาศัยในพื้นที่เรา ควรเข้าไปเจรจาว่าเค้ารุกล้ำที่ดินของเราอยู่ หากเค้าต้องการที่จะเช่าหรือซื้อก็ควรจะเจรจาให้เรียบร้อยไม่ใช่มาบุกรุกที่ดินคนอื่น
6.ที่ดินควรล้อมรั้วเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่าเป็นที่ดินมีเจ้าของ
7.ติดป้ายไว้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อให้ได้รู้ว่าไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ ไม่ให้ใครมารุกล้ำ
8.คอยเช็คดูว่ามีร่องรอยของทางเดินรถผ่านไหม เพราะที่ดินอาจโดนใช้เป็นทางผ่านรถไปได้ หากเราไม่เข้าไปดูแล
คนที่เป็นเจ้าของไม่ควรปล่อยที่ดินไว้โดยไม่ได้ไประบุ ว่าเป็นที่ดินของตนเอง เพราะหากเราปล่อยไว้อาจจะมีคนเข้ามาใช้ประโยชน์บนที่ดินของเรา เพราะอาจจะเกิดการครอบครองปรปักษ์ได้
การครอบครองปรปักษ์ คือการแย่งกรรมสิทธิ์ ของเจ้าของที่ดินโดยการเข้าไปในที่ดินที่มีฉโนดของผู้อื่นโดยสงบหรือเปิดเผย ด้วยการแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของและได้ใช้ประโยชน์ติดต่อมาถึง 10 ปี
เมื่อครบกำหนดแล้วคนนั้นจะได้เป็นเจ้าของโดยทันที เพราะเหตุนี้เราจึงต้องเข้าไปดูที่ดินว่างเปล่า ที่เราคิดว่าไม่มีประโยชน์บ่อยๆนะครับ
การทาสีห้องให้สวยงามขึ้นอยู่กับการเลือกสีและการตกแต่งก็เป็นส่วนที่ทำให้ห้องสวยงาม แต่หากว่าห้องของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ด้วยองค์ประกอบของโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นขนาด ความกว้าง ความยาวของห้อง ก็ไม่เหมือนกัน วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการทาสีห้อง ว่าห้องแบบไหนควรทาสีแบบใดมาดูกันครับ
1.สีผนังและเพดานอ่อนกว่าสีพื้น
การทาสีแบบนี้จะช่วยให้ห้องดูโปร่งไม่อึดอัด การเลือกใช้พื้นที่มีสีเข้มจะช่วยให้ห้องดูกว้างและสูงขึ้น และสามารถทำให้บ้านที่เพดานเตี้ยสูงขึ้นอีกด้วย
2.ห้องแคบเพดานสูง
ควรเลือกใช้สีพื้นและสีฝ้าเพดานเป็นสีเดียวกัน หรือเข้มกว่าสีผนัง จะช่วยทำให้ห้องที่เพดานสูงดูกว้างมากขึ้นเพดานจะมีความต่ำลง ทำให้บ้านดูอบอุ่น
3.ผนังและพื้นมีสีเดียวกัน
การทาผนังด้านในเป็นสีเดียวกับพื้นจะช่วยให้ห้องมีพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้นและลดความอึดอัดในตัวห้องทำให้บ้านมีความโปร่ง โล่ง สบายมากยิ่งขึ้น
4.ห้องแนวยาวและลึก
ห้องที่เป็นแนวยาวและลึก ควรทาสีผนังในฝั่งใดฝั่งหนึ่งให้เป็นสีเดียวกับฝ้า เพราะเวลาที่มองจะทำให้ห้องดูกว้างขึ้นและทำให้ห้องลดขนาดความลึกของห้องลง ข้อแนะนำ ไม่ควรใช้สีเข้มกว่าสีของผนังจนเกินไปเพราะอาจทำให้ห้องแคบลงได้
5.ใช้สีพื้นและสีผนังเป็นสีเดียวกันในโทนสีอ่อน
เหมาะกับห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มากแนะนำให้ใช้สีในโทนที่อ่อนเท่านั้น เช่น สีขาวหรือในโทนพาสเทล หากใช้สีที่เข้มจะยิ่งทำให้ห้องดูแคบลงกว่าเดิม
6.ห้องแคบสั้น เพดานต่ำ
หากเป็นห้องในลักษณะนี้ที่คล้ายกล่องสี่เหลี่ยม แคบ ควรทาสีเข้มหรือสีอ่อนด้านใดด้านหนึ่ง
7.ใช้สีสว่างทาผนังด้านหลัง
ช่วยให้ขยายผนังด้านข้างให้ดูกว้างขึ้นลดความลึกของห้องโดยใช้สีสันสดใสเน้นผนังด้านหลัง
8.ผนังทั้งสองฝั่งทาสีเดียวกัน
ช่วยลดความกว้างแต่ช่วยให้ห้องดูลึกขึ้นโดยการเลือกใช้สีเข้มเพื่อเป็นการเน้นผนังทั้งสองด้าน
9.ห้องเพดานต่ำ
ควรใช้สีเข้มทาผนังด้านข้างและด้านหลังเพื่อช่วยลดความลึกและความกว้างของห้องทำให้ห้องดูสูงขึ้น
10.ติดวอลล์เปเปอร์ที่มีลวดลาย
ควรเลือกใช้สีอ่อน สีคลีนๆลวดลายเล็กๆ ทำให้ห้องดูโปร่งมากยิ่งขึ้น
11.ห้องที่มีเพดานสูงเกินไป
หากอยากให้ห้องต่ำลงควรตกแต่งผนังด้วยลายเส้นแนวนอนหรือติดวอลล์เปเปอร์ลายแนวนอน ทำให้เพดานต่ำลงและลดความยาวของห้องได้
12.ทำให้ห้องกว้างขึ้น
ใช้ลายเส้นแนวนอน จะช่วยยืดให้ห้องดูกว้างขึ้นและมองเห็นสิ่งต่างๆชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อกำหนด
ทดสอบ :O)
123 ถนนอยู่สุข เขตอยู่สุข กรุงเทพฯ 10000
02-123-4567
support@vlivingpro.com
แก้ไขความคิดเห็น