ประเภทของสีที่แบ่งตามใช้งาน
By vLIVING PRO30 ธันวาคม 2567 03:22:02

 

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • ปัญหาหลังคารั่วซึมที่เกิดขึ้นในฤดูฝน ทำให้น้ำหยดไหลเข้ามาในบ้าน คงเป็นเรื่องที่น่าหนักใจไม่น้อยสำหรับเจ้าของบ้านเลยทีเดียว  ปัญหาหลังคารั่ว เกิดได้หลายสาเหตุ และหลายจุด แต่ที่พบบ่อยๆ มีอยู่ 7 จุด ดังนี้

     

    1. น้ำฝนรั่วบริเวณรางน้ำตะเข้ เกิดจากรางตะเข้เป็นสนิม ผุกร่อน หรือรางน้ำทำจากแผ่นโลหะพับเป็นรูปตัววี ทำให้ความลึกของท้องรางมีน้อย และปีกสั้น

    วิธีแก้ไข คือ ควรใช้รางน้ำที่ลึกและกว้างมากขึ้น ทำมาจากสแตนเลสที่ได้มาตรฐาน ไม่เป็นสนิม สามารถช่วยรองรับ และระบายน้ำฝนได้ดี

     

     

     

     

    1. น้ำฝนรั่วจากแผ่นกระเบื้อง เนื่องจากแผ่นกระเบื้องแตก หรือร้าว ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมไหลเข้าบ้าน

    วิธีแก้ไข คือ ควรเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ กรณีที่มีช่องหรือรู ควรใช้วัสดุยาแนว เช่น โพลียูรีเทน ที่มีความยืดหยุ่นสูง

     

     

     

    1. น้ำรั่วบริเวณอุปกรณ์ยึดกระเบื้อง เช่น ตะปูเกลียว หรือ ขอป.ปลา เสื่อมสภาพ แหวนยางแห้งกรอบ และหมวกสังกะสีผุ เป็นสนิม

    วิธีแก้ไข คือ ถอดหมวกสังกะสี และแหวนยางอันเก่าออก แล้วใส่อุปกรณ์สำหรับยึดกระเบื้องหลังคาใหม่หมดทั้งชุด ควรเลือกใช้อุปกรณ์ยึดแบบที่มีความหนา และขนาดใหญ่ขึ้นกว่าของเก่า เพื่อจะได้สามารถปิดรูเดิมที่ใหญ่ขึ้นได้

     

     

     

     

    1. น้ำรั่วบริเวณปูนปั้น หรือปีกนก เกิดจากปูนทราย หรือคอนกรีตที่เทไว้แตกร้าว

    วิธีแก้ไข คือ สกัดปูนทรายตรงผิวเดิมบริเวณที่แตกร้าวออก แล้วทารองพื้นด้วยซีเมนต์กันซึม จากนั้นฉาบทับหน้าด้วยปูนทรายละเอียด เพื่อช่วยให้เกิดความสวยงาม

     

     

     

    1. น้ำฝนรั่วบริเวณชายคา เพราะชายกระเบื้องยื่นเลยเชิงชายออกมาน้อยเกินไป และหลังคามีความลาดเอียงหรือความชันน้อยเกินไป ทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดี เกิดเป็นน้ำสะสม และทำให้น้ำไหลย้อนกระเบื้อง ไหลเข้าในบ้าน

    วิธีแก้ไข คือ เปลี่ยนกระเบื้องแถวล่างให้มีความยาวมากขึ้น

     

     

     

    1. โครงสร้างของหลังคาแป แอ่น และยุบตัว เกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุที่ใช้ เช่น โครงหลังคาอาจผุพัง เป็นสนิม และแอ่นตัว ทำให้กระเบื้องมีช่องโหว่เกิดน้ำรั่วซึม

     

    วิธีแก้ไข คือ ถ้าเป็นโครงหลังคาเหล็ก ควรขัดสนิมที่โครงเหล็กออกก่อน ถ้าโครงทรุดตัว ควรนำไม้มาค้ำเพื่อไม่ให้โครงหลังคาทรุด หรือแอ่น แล้วนำเหล็ก 2 แผ่นมาประกบกับโครงเหล็กที่เป็นสนิม แล้วจึงขันน๊อตให้แน่น

     

    สำหรับโครงหลังคาไม้ ตัดไม้เก่าที่ผุออก นำไม้ 2 แผ่นมาประกบกับโครงไม้ที่ผุ แล้วขันน๊อตให้แน่น จากนั้นนำไปดามโครงหลังคาไม้ขึ้นให้ติดกระเบื้อง เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างกระเบื้อง และป้องกันน้ำรั่วซึม

     

     

     

    1. หลังคารั่วตรงที่ครอบสันหลังคา เมื่อน้ำฝนกัดเซาะมาเป็นเวลานาน ทำให้บริเวณครอบสันหลังคาแตกร้าว หรือหลุดร่อน จึงทำให้น้ำรั่วไหลผ่านช่องที่แตกร้าวเข้าในบ้านได้

     

    วิธีแก้ไข คือ ใช้ปูน นอน-ชลิงค์ (ปูนที่ไม่หดตัว) อุดรอยรั่วแตกร้าว ระหว่างครอบสันหลังคากับแผ่นกระเบื้องหลังคา ไม่ให้มีช่องโหว่ ทาน้ำยาอะคริลิกกันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง หรือในกรณีที่หลังคาเดิมติดตั้งเป็นระบบครอบแห้ง (วิธีการสังเกตระบบครอบแห้งคือ บริเวณตรงครอบหลังคาไม่มีปูนทราย) ต้องเปิดครอบสันหลังคาที่แตกร้าวออก แล้วเช็คสภาพแผ่นยางกันการรั่วซึมด้านใต้ด้วย หากแผ่นยางเสื่อมสภาพ ควรทำการเปลี่ยนแผ่นยางใหม่ให้เรียบร้อย

    เมื่อได้ทราบถึงจุดที่อาจจะทำให้เกิดหลังคารั่วซึมแล้ว ลองนำวิธีการข้างต้นไปตรวจสอบบ้านที่คุณรักดูนะคะ หวังว่าทุกท่านจะสามารถแก้ไขปัญหาหลังคารั่วซึมได้ เพื่อพร้อมรับมือกันหน้าฝนที่กำลังจะมาเยือน ได้อย่างสบายใจ และมีความสุขค่ะ

     

    ขอบคุณภาพจาก Pinterest

  • หลายคนคงจะปวดหัวกันน่าดูสำหรับสัตว์ที่ไม่ได้รับเชิญ

    วันนี้ผมมีเทคนิคเล็กๆ มาฝากเพื่อนๆ

    เพื่อกำจัด เหล่าบรรดาสัตว์กวนใจทั้งหลาย ด้วยวิธีธรรมชาติคร้าบบบบบ

     

     

  • ศัพท์ช่างวันนี้ "เหล็กหนวดกุ้ง" หรือ "เหล็กเดือย" เป็นเหล็กเสริมสำหรับยึดเกาะโครงสร้างส่วนต่อ เพื่อช่วยให้เกิดความแข็งแรงของโครงสร้างมากขึ้น มาดูกันค่ะว่าเหล็กหนวดกุ้งมีกี่ชนิด อะไรบ้าง และแต่ละชนิดเหมาะกับงานประเภทไหน?

     

      

     

     

     

    นอกจากนี้ เราอาจใช้ประโยชน์จากเศษเหล็กที่เหลือใช้จากงานก่อสร้าง มาทำเป็น "เหล็กเดือย" หรือ "เหล็กหนวดกุ้ง" ได้ด้วยนะคะ 

  • ลูกฟัก?

    หรือที่เรียกกันว่ากรอบบานลูกฟัก

    คืออะไร....อยู่ในส่วนไหนของงานช่าง....

    วันนี้ผมมีคำตอบมาให้ครับ