ศัพท์ช่างวันนี้ หน้าบัน
By vLIVING PRO21 กุมภาพันธ์ 2561 10:58:40

หน้าบัน ช่วยป้องกันแดด และฝนไม่ให้เข้าไปภายในตัวอาคาร แถมยังมีความสวยงามอีกด้วยค่ะ สำหรับบ้านเรือนทั่วไปจะเรียกว่า "หน้าจั่ว" หน้าบัน มีลักษณะอย่างไร และอยู่ส่วนไหนของตัวอาคาร เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันค่ะ

 

 

หน้าบัน มีลักษณะที่หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาคารก่อสร้างของแต่ละศาสนา และแต่ละรูปแบบของอาคารบ้านเรือน ซึ่งมีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วยค่ะ

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  • จะเลือกโครงหลังคากันสาดแบบไหน ให้เหมาะกับการใช้งานของบ้าน แต่ละวัสดุมีข้อแตกต่างกันขนาดไหนมาดูกัน

    โครงหลังคาไม้จริง 

    มีความสวยงามของไม้ สวยงาม คงทน แต่ไม้บางชนิดจะมีราคาสูง

     

     

     

    โครงหลังคากันสาดเหล็กรูปพรรณ

    เป็นที่นิยม เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่ายได้หลายรูปแบบ แต่หากเหล็กชุบไม่ดีก็สามารถทำให้เกินสนิมได้

     

     

    โครงหลังคากันสาดไม้เทียม

    ลักษณะเหมือนไม้จริง  สวยงาม เทียบได้และมีความแข็งแรง แต่ราคาอาจสูงนิดหน่อย

     

     

    โครงหลังคาสแตนเลส

    วัสดุทำมาจากสแตนเลสนิยมทำแบบโชว์ตัวหลังคา เพราะมีความสวยงาม ของตัวสแตนเลสไม่เป็นสนิม แต่ราคาสูงพอสมควร ควรเลือกเกรดที่ได้มาตรฐานไม่ทำให้เกิดสนิม

     

     

  •      ในงานก่อสร้าง ต้องพิจารณาดูว่างานที่ทำไม่เสร็จ หรือว่างานที่ทำไปกลางคันแล้ว ทำไม่เสร็จจริงเพราะว่างานเหลือเยอะแล้วไม่ทำต่อ  หรือเป็นกรณีที่ เบิกเงินไปแล้วหนีไปเลย ลักษณะนี้ถือว่าเป็นการทิ้งงาน เพราะว่าเงินส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้าน อาจจะต้องนำไปจ่ายให้ช่างใหม่มาเก็บงานต่อ  และอาจเกิดงบบานปลายได้เพราะ ช่างที่เข้ามาใหม่อาจจะคิดราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นว่าช่างเก่าที่ทำไว้งานไปถึงไหนแล้ว สาเหตุเนื่องจากไม่รู้ว่าแย่แค่ไหนจึงมีการเผื่อค่าเก็บแก้งาน

     

     

    1.ประเด็นและสาเหตุการทิ้งงาน

    หากช่างทำงานไม่สำเร็จ หรือทิ้งงานไปกลางคัน โดยที่ปริมาณงานยังเหลืออีกเยอะ หากช่างเบิกงวดงาน ไปแล้วปิดมือถือหรือติดต่อยาก ผู้ว่าจ้างอาจจะต้องพิจารณาไม่จ่ายเงิน ในส่วนที่ทำไป แล้วเพราะ เงินที่เหลือ จะต้องนำไปจ้างช่างที่ว่าจ้างเข้ามาใหม่ที่จะเข้ามาต่องาน ช่างใหม่อาจจะคิดเงินราคาแพงกว่าเพราะไม่รู้ว่าของเดิมได้ทำไว้แย่แค่ไหน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บงานมากขึ้น

     

    2.การจ้างงานช่างหรือผู้รับเหมา ควรทำสัญญาให้ชัดเจน ว่าเบิกงวดงานได้ตอนไหน หากไม่มีเอกสารที่จะระบุได้ชัดเจนอาจจะทำให้ช่าง เบิกเงินเกินกับปริมารงานที่ทำ เจ้าของบ้านมารู้ตัวอีกที เงินอาจจะหมดแล้วแต่งานยังไม่ไปถึงไหนเลย หรือ หากถึงเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าของบ้านดึงเงินไม่จ่ายก็ต้องมาดูที่สัญญาว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน

     

    ข้อแนะนำเพิ่มเติม

    ในการทำสัญญากับรับเหมาควรจะขอเอกสาร เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านเดิม ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งในการอ้างอิง โดยทั่วไปช่างที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะไม่ยอมให้หลักฐานประกอบเพื่อแนบในสัญญา นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีปัญหาการเงินตั้งแต่แรก เพราะตอนทำงานจริงก็มีโอกาสเกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันและอาจทิ้งงานได้

    3. จ่ายตามจริง อ้างอิงราคากลาง หรือ ที่ตกลงไว้

     จ่ายเท่าไหร่ ขึ้นกับการเจรจา โดยทั่วไปถ้าคุยกันเองได้ก็จบ แต่คุยสรุปตัวเลขกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาล ก็จะให้คนกลาง สภาวิศวกรมาประเมิน

     

     

     

     

    4.สัญญา ฟ้องได้ แต่คุ้มไหม?

    ไม่แน่ใจ ค่าฟ้องก็หลายหมื่นนะ มันจะมีอัตราเท่าไหร่ ไม่แน่ใจ ต้องเช็คทนาย

     อีกเรื่องคือ ทาง ผรม. มีทรัพย์อะไรให้ยึดมั้ย แล้วถ้าเค้าไม่ได้มีชื่อถือครองสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถ เป็นชื่อพ่อแม่ ก็ยึดไม่ได้นะ หรือ ถ้าเค้าทำงานเป็นพนักงานประจำ สมมติว่า ตามไปทำเรื่องแจ้งขอหักเงินจากเจ้านายใหม่  ถ้าเค้าย้ายงาน เราก็ต้องสืบว่ามันย้ายไปทำทีไ่หน แล้วต้องทำเรื่องใหม่หมด ยุ่งยาก

  • “เหล็กเสริม” ในงานก่อสร้าง เป็นวัสดุสำคัญของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วยเสริมความแข็งแรงในเนื้อคอนกรีต แล้วเหล็กชนิดไหนบ้าง? ที่นำมาทำเป็นเหล็กเสริม มาดูกันเลยค่ะ 

     

     

     

     

      

      

     

     

    เหล็กเสริม มีความสำคัญสำหรับงานก่อสร้าง ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทของงานโครงสร้างบ้านด้วยนะคะ เพื่อให้บ้านของเรามั่นคง แข็งแรง และไม่มีปัญหาตามมาภายหลังค่ะ

  •  

     

     

     

     

     

  •      จะปูกระเบื้องทับของเดิม ต้องเช็คอะไรก่อนบ้าง กระเบื้องเก่าอยากจะปูใหม่ ต้องเช็คอะไร วันนี้เรามีวิธีมาฝากกัน

     

     

    สิ่งที่ควรตรวจสอบก่อนจะปูกระเบื้องทับของเก่ามีดังนี้

    1.พื้นที่ที่ต้องการปูทับต้องมีระดับเดียวกันเสมอกันหมด หากไม่เรียบปูทับไปอาจทำให้เกิดปัญหาแนะนำให้รื้อออกแล้วปูใหม่จะดีกว่า

     

     

    2.ตรวจเช็คความลาดเอียง หากพื้นไม่ได้มาตรฐาน มีการระบายน้ำที่ไม่ดีเกิดเป็นแอ่ง ไม่ควรปูทับแด็ดขาด สำหรับห้องน้ำและระเบียง ควรจะทากันซึมให้เรียบร้อยก่อนการปูกระเบื้องทับจะดีกว่า

     

     

    3.ถ้ากระเบื้องเดิมเกิดการแตกร้าว บิ่น โก่ง หรือการยึดเกาะเดิมของกระเบื้องไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ควรจะปูกระเบื้องทับเด็ดขาด เพราะทำให้เกิดการรั่วซึมหรือกระเบื้องเดิมอาจจะแตกร้าวได้

     

    4.ไม่ควรปูทับกระเบื้องภายนอกเด็ดขาด เพราะอากาศจะทำให้กระเบื้องหลุดร่วงเป็นอันตรายได้

    5.เคาะเพื่อดูความแน่นของซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้อง หากมีเสียงโปร่งที่ขอบกระเบื้อง ไม่ควรปูทับ เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึม หรือกระเบื้องจะแตกร้าวได้

     

     

    ข้อดีและข้อเสียของการปูกระเบื้องทับของเดิม

    1.ช่วยประหยัดค่าแรงเพราะไม่ต้องทำการรื้อกระเบื้องเดิมออกและใช้เวลารวดเร็วในการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน

    ข้อเสีย

    1.พื้นมีความหนามากขึ้นตามความหนาของกระเบื้อง และกาวซีเมนต์ ทำให้ห้องดูแคบหรือเตี้ยลงได้ ทำให้มีผลกับบานประตูอาจจะต้องตัดข้างล่างออกเพื่อให้เปิดปิดได้หรืออาจจะต้องเปลี่ยนบานใหม่

     

    2.โครงสร้างอาจมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะพื้นที่ต่างๆวิศวกรได้คำนวณมาหมดแล้ว หากมีการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปอีก อาจจะทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงสำหรับบ้านที่ไม่แข็งแรงพอได้

     

    3.การยึดเกาะอาจไม่ดีเท่าที่ควร กระเบื้องแผ่นเก่าบางที่อาจเป็นผิวหน้าเรียบทำให้ไม่สามารถยึดเกาะปูนกาวได้ เพราะกระเบื้องที่มีความเรียบมันจะทำให้ยึกติดยากกว่าแบบหน้าหยาบทำให้กระเบื้องไม่ยึดติดและร่อนได้

    4.ช่างที่ทำบางคนอาจมีความถนัดไม่มากพอ เลยทำให้เกิดการปูกระเบื้องที่ไม่ดีได้

     

     

    5.ช่องใต้แผ่นกระเบื้อง หรือระหว่างกระบื้องแผ่นเดิมและแผ่นใหม่ หากเป็นส่วนที่ต้องเดิมน้ำตลอด เช่นห้องน้ำ อาจจะทำให้เกิดการขังของน้ำใต้กระเบื้อง หรือตามคราบยาแนว ทำให้เกิดเป็นเชื้อราทำให้ต้องรื้อและปูกระเบื้องใหม่

     

    ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์สำหรับปูทับกระเบื้องโดยเฉพาะ ที่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะตัวสูง จะทำให้กระเบื้องยึดติดกันได้แน่น และช่วยลดปัญหาการหลุดล่อน