หยุดเทคอนกรีตอย่างไรให้แข็งแรง
By vLIVING PRO02 ธันวาคม 2567 04:58:07

ส่วนของโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนทั่วไป จะมีเสาและคานเป็นตัวรับน้ำหนักของโครงสร้างดังนั้น หากไม่สามารถเทคอนกรีตให้เสร็จพร้อมกันทุกส่วนในครั้งเดียว และต้องมีการแบ่งเทคอนกรีต เราควรต้องรู้ตำแหน่งที่สามารถหยุดเทคอนกรีตได้ เพื่อให้โครงสร้างยังคงมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ มาดูกันว่าเค้าทำอย่างไร

การหยุดเทคอนกรีตคาน ควรจะหยุดที่ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง เสา 2 ต้น (จากระยะครึ่งหนึ่งของ Span เสา ) การแบ่งเทคอนกรีตบริเวณคานไม่ควรหยุดเทคอนกรีตในช่วงระหว่าง L/4 – L/3 เพราะในบริเวณดังกล่าวจะมีแรงเฉือนเกิดในหน้าตัดคานคอนกรีตทำให้เหล็กต้องรับแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อ ส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างได้ นอกจากนี้ควรหาไม้อัดมากั้นบริเวณที่หยุดเท เพื่อให้หน้าตัดเป็นแนวฉาก

การหยุดเทคอนกรีตเสา

         ควรหยุดเทคอนกรีตให้สูงใกล้ระดับท้องคานมากที่สุด คือต่ำกว่าท่องคานไม่เกิน 5 ซม. หากมากกว่านั้นจะทำให้เสาไม่แข็งแรง

vLIVING PRO
สนใจติดต่อโฆษณาเว็บไซต์กับ vLIVING PRO โทร.02-101-9493 #16, 082-359-3382
บทความอื่นที่น่าสนใจ
  •  

    การปูตงคืออะไร

    ตงโน้น ตงนี้ ตงนั้นหรือเปล่า มาหาคำตอบกันได้เลยคร้าบบบ

     

     

  • เมื่อลมร้อนพัดผ่านมาเมื่อไร บ้านก็จะร้อนจนกลายเป็นเตาอบ เพราะแสงแดดแผดเผา เนื่องจากความร้อนที่เข้ามาภายในบ้านส่วนใหญ่มักจะมาจากหลังคา ดังนั้นหากต้องการจะแก้ปัญหาบ้านร้อนให้ได้ผลดี จึงควรเริ่มที่หลังคาก่อน เพื่อช่วยลดและป้องกันความร้อนจากหลังคา เพิ่มความเย็นให้กับบ้านของเรา มาฝากทุกคน ดังนี้ 

     

     

    1. ใช้หลังคาสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน    

     

     

     

     

     

     

    2. ชายคา ควรมีระยะยื่นออกมาอย่างน้อย 1 เมตร และฝ้าชายคา ควรมีช่องระบายความร้อน รวมทั้งช่องตรงฝ้าชายคายิ่งเยอะ

    ก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

     

     


     

     

     

    3. ช่องว่างใต้หลังคา ควรมีความสูงมากพอ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บความร้อนบริเวณใต้หลังคา ทำให้ความร้อนแผ่ลงมายังตัวบ้านได้น้อยลง

     

     

     

     

     

     

     

      4. การติดตั้งแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อน สามารถปูได้ทั้งบนแปรหลังคา หรือปูใต้แปหลังคาก็ได้  

     

     

     

     

     

     5. การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ฉนวนมีความหนาตั้งแต่ 2 นิ้ว – 6 นิ้ว แต่ฉนวนกันความร้อนยิ่งมีความหนามากก็จะยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องทำโครงฝ้าให้แข็งแรงมากขึ้นด้วย     

             

     

     

     

     

     

    ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีใดก้ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่า หรือบ้านสร้างใหม่และควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วย

     

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest                  

  • บันได ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของบ้าน ซึ่งบ้านเกือบทุกหลังจำเป็นต้องมีบันได โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือขนาดของลูกตั้ง ลูกนอนที่เหมาะสม เพื่อให้สมาชิกทุกคนภายในบ้านใช้บันไดได้อย่างสบายเท้า ดังนั้นบันไดที่ดี จึงควรมีลักษณะ ดังนี้

     

     

     

     

    บันได ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของบ้าน ซึ่งบ้านเกือบทุกหลังจำเป็นต้องมีบันได โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือขนาดของลูกตั้ง ลูกนอนที่เหมาะสม เพื่อให้สมาชิกทุกคนภายในบ้านใช้บันไดได้อย่างสบายเท้า ดังนั้นบันไดที่ดี จึงควรมีลักษณะ ดังนี้

     

    1. ลักษณะและขนาดของลูกตั้ง และลูกนอนที่ดี

    ลูกตั้ง คือ ระยะตั้งของบันไดแต่ละขั้น

    ลูกนอน คือ ระยะราบที่ใช้เดินเหยียบบันไดแต่ละขั้น

    สูตรการคำนวณลูกตั้งลูกนอนบันได คือ ลูกตั้ง + ลูกนอน = 45

    ตัวอย่างการคำนวณ ลูกตั้งลูกนอน  ลูกตั้ง + ลูกนอน = ผลรวม   เช่น     18+ 27 = 45  เป็นต้น

     

     

    ตัวอย่างบันไดที่เดินสบาย

    ดังนั้น บันไดที่เดินแล้วสบายเท้า ลูกตั้ง จะอยู่ที่ 17 – 18 เซนติเมตร ส่วนลูกนอน จะอยู่ที่ 27 – 28 เซนติเมตร 

    ตามกฎหมายระบุไว้ว่า ลูกตั้งต้องไม่เกิน 20 เซนติเมตร ส่วนลูกนอนต้องกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร

    (เพราะถ้าความกว้างของลูกนอนน้อยเกินไป จะทำให้เหยียบได้ไม่ถนัดเท้า)

     

    1. ความสูงของช่วงบันได

     

    ในกรณีที่ความสูงระหว่างชั้นไม่เกิน 3 เมตร สามารถใช้บันได ช่วงเดียวได้เลย

    แต่ถ้าความสูงระหว่างชั้นเกิน 3 เมตร ควรแบ่งช่วงบันได

     

    1. ชานพัก

      

    มีไว้เพื่อแบ่งช่วงบันได และความยาวของชานพัก ต้องไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

    รวมถึง ระยะดิ่งจากขั้นบันได หรือชานพัก ถึงเพดานเหนือหัว ต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร

     

     

    บันไดบ้านจะสวยมากน้อยแค่ไหนไม่สำคัญ สิ่งสำคัญคือ การมีบันไดที่ได้สัดส่วนตามมาตรฐาน ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย เหมาะสม และปลอดภัยกับทุกคนในครอบครัวเป็นอย่างดี 

     

    ขอคุณภาพประกอบจาก Pinterest

  • ท๊อปเคาว์เตอร์ครัว ถือเป็นหน้าตาหลักอย่างหนึ่งของห้องครัวเลยนะคะ ที่จะช่วยเพิ่มความสวยงาม และดึงดูดความสนใจของแขกผู้มาเยือนให้หันมามองครัวที่สวยงามของเราได้ วัสดุยอดฮิตที่ใช้ทำท๊อปเคาว์เตอร์ครัว มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน จะมีอะไรบ้าง? ไปชมพร้อมๆ กันเลยค่ะ

     

     

     

     

     

     

     

    ชนิดของท๊อปครัว และวัสดุมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างค่อนข้างมากค่ะ เพื่อนๆ ควรคำนวณค่าใช้จ่ายโดยรวม และศึกษาวัสดุที่ต้องการใช้อย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจลงมือทำนะคะ

  •          เชื่อว่ามีคนมากมายที่กำลังคิดว่าอยากจะสร้างบ้านใหม่ แต่อาจยังลังเลใจอยู่ เลือกไม่ถูกว่าจะสร้างบ้านไม้ หรือบ้านปูนดี  ดังนั้น เพื่อให้ได้เห็นถึงความแตกต่างของบ้านไม้ กับ บ้านปูน อย่างชัดเจน เราจึงได้นำข้อดี – ข้อเสีย ของบ้านทั้ง 2 แบบ มาเปรียบเทียบให้ดูกัน ดังนี้

     

      

     

    บ้านไม้

              ควรเลือกใช้ไม้แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ไม้บางประเภทอาจจะเหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือบางประเภท เหมาะสำหรับทำโครงสร้างบ้าน เป็นต้น

              บ้านไม้ เป็นบ้านที่มีความสวยงาม คลาสสิก และอบอุ่น อากาศถ่ายเทได้ดี โปร่ง โล่ง สบาย มีความยืดหยุ่นสูง ง่ายต่อการซ่อมแซมแก้ไข รื้อถอน หรือตกแต่งเพิ่มเติม และสามารถนำไม้กลับมาใช้ใหม่ได้

     

     

     

     

     

    1. ไม้เต็ง เนื้อไม้มีผิวหยาบ เหมาะสำหรับงานที่โชว์ลวดลายของไม้ ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับใช้กับงานภายนอก และงานโครงสร้างเป็นหลัก เช่น เสา และคาน

    2. ไม้แดง นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างบ้าน เช่น ใช้ทำพื้นบ้าน หรือวงกบประตู หน้าต่าง เป็นต้น

    3. ไม้มะค่า มีความแข็งแรงมาก ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ทำพื้นไม้ และบันไดบ้าน

    4. ไม้ตะแบก เหมาะสำหรับใช้กับงานภายในเท่านั้น เช่น พื้นภายในบ้าน และประตู เป็นต้น

    5. ไม้ตะเคียน มีความคงทนสูง ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทำวงกบ และพื้นไม้

    6. ไม้สัก มีลายไม้ที่สวยงาม และคงทน เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างบ้าน หรือส่วนต่างๆ ของบ้านที่ต้องการความสวยงาม เช่น บานประตู หน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

    7. ไม้ยางพารา เหมาะสำหรับใช้ทำประตู วงกบ พื้น บันได และเฟอร์นิเจอร์

    8. ไม้จำปา ส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานภายใน เช่น ประตู เป็นต้น

     

    ข้อควรระวังสำหรับบ้านไม้ คือ

    1. จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านไม้ ต้องมีฝีมือที่ประณีต เรียบร้อย และสวยงาม
    2. ในปัจจุบันไม้หายากมากขึ้น จึงทำให้ไม้มีราคาแพง
    3. ปลวก และแมลงสามารถกันกินไม้ได้
    4. เสื่อมโทรม ผุ พังได้ตามอายุการใช้งาน และตามสภาพดินฟ้าอากาศ

     

    การป้องกัน และการดูแลแก้ไขสำหรับบ้านไม้ คือ

    1. ประตู หน้าต่าง และโครงสร้างไม้ภายนอก ควรทาด้วยสีน้ำมัน สีพลาสติก สำหรับใช้กับงานไม้โดยเฉพาะ หรือสามารถใช้สีย้อมไม้ก็ได้เช่นกัน ทาประมาณ 2 – 3 ชั้น การทาแต่ละชั้นควรทิ้งระยะให้แห้งอย่างน้อยประมาณ 6 ชั่วโมง
    2. ไม้บริเวณระเบียงนอกชาน ที่อยู่กลางแจ้ง ควรขัดผิว และทาด้วยสีย้อมไม้สำหรับทาภายนอกโดยเฉพาะ ทุกๆ 3 ปี
    3. พื้นไม้ และบันไดภายในบ้าน ควรทาน้ำยากันปลวกให้ทั่วก่อน แล้วจึงเคลือบด้วยน้ำยาโพลียูรีเทน เพื่อช่วยป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนจากการใช้งาน และช่วยเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย
    4. เฟอร์นิเจอร์ไม้ ควรขัดเคลือบผิวก่อน เพื่อไม่ให้เนื้อไม้เสีย หรือดูดซับความชื้นมากจนเกินไป จากนั้นจึงเคลือบด้วยแล็กเกอร์ เพื่อช่วยให้ผิวไม้เงางามมากยิ่งขึ้น การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ควรใช้ผ้านุ่มๆชุบน้ำที่ผสมกับสบู่จางๆ เช็ดทำความสะอาด หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเฉพาะก็ได้ ใช้ง่าย และยังสามารถช่วยบำรุงผิวไม้ได้อีกด้วย
     

    บ้านปูน

              ความแข็งแรงของบ้านปูน จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่ใช้ ส่วนผสมของคอนกรีต เทคนิคการก่ออิฐ ฉาบปูน และงานระบบต่างๆ เช่น งานฝ้าเพดาน งานประปา และงานไฟฟ้า เป็นต้น

     

     

     

              บ้านปูนมีลักษณะที่ทันสมัย และสวยงาม แต่ผนังของบ้านปูนจะมีความทึบแสง ไม่โปร่งเท่ากับบ้านไม้ ดังนั้น อาจแก้ไขได้โดย การจัดแปลนบ้านให้ลมสามารถพัดผ่านเข้าภายในบ้านได้ และจัดให้ห้องที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อยู่ในด้านที่โดนแดดจัดๆในตอนกลางวัน เช่น ห้องเก็บของ เป็นต้น หรือทำช่องระบายอากาศให้มากขึ้น และทำหน้าต่างให้กว้างขึ้นด้วย

     

    ข้อควรระวังสำหรับบ้านปูน คือ

    ควรใช้ช่างที่มีความชำนาญ ไม่เช่นนั้น อาจทำให้เกิดรอยร้าวได้ ดูไม่สวยงาม และอาจเกิดคราบดำขึ้นที่ผนัง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ และชนิดของปูนให้เลือกใช้มากมาย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้ถูกต้องตามแต่ละประเภทด้วย และสำหรับผู้ที่ต้องการจะรีโนเวทบ้านปูน ต้องทำการทุบ หรือรื้อถอนของเก่าทิ้งก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ยกเว้น ประตู หน้าต่าง วงกบ บันได ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถ้าอยู่ในสภาพที่ดี

     

              สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจ หรือกำลังสับสนอยู่ บทความนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาช่วยพิจารณา ในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าจะเลือกสร้างบ้านแบบไหนดี จึงจะเหมาะสมสไตล์ และการอยู่อาศัยของเรามากที่สุด

     

    ขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest