• เลือกใช้ทรายในงานก่อสร้าง เลือกให้ถูกและดี และเหมาะกับงาน ทรายแบ่งออกมาได้หลากหลายชนิด เคยสังเกตกันไหมแต่ละชนิดก็เหมาะกับงานก่อสร้างแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน เพื่อให้การใช้งาน เหมาะสมที่สุดวันนี้เรามีตัวอย่างของทรายแต่ละประเภทมาฝากกัน

    [รูปภาพ]

  • 6 วิธีเช็ฝ้าหลังคาง่ายๆ ได้ด้วยตาเปล่า วันนี้เรามีเคล็ดลับในการเช็คหลังคา มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน

    [รูปภาพ]

  • หลังคาบ้านมีวัสดุให้เลือกมากมายในท้องตลาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และความชื่นชอบ ทั่้งดีไซน์และรูปสร้าง วันนี้เรามี 5 ประเภทวัสดุที่นิยมใช้งานมาฝากกัน

     

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

  • รังวัด
    By vLIVING PRO27 ธันวาคม 2567 09:53:05

    การรังวัดที่ดิน

    ในการทำรังวัดจะต้องยื่นเรื่องขอให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน มาเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เพราะเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ที่หวงสิทธิในที่ดินของตนเอง จะทำการ รังวัดที่ดินในทุกๆ 10 ปี เพื่อเป็นการป้องกันการครอบครองปรปักษ์ ในส่วนของการยื่นเรื่องขอการรังวัดก็จะมีขั้นตอนและมีค่าใช้จ่ายในการรังวัดโฉนดที่ดินด้วย

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    1.ตรวจสอบหลักฐานที่ดินที่ครอบครอง

         ที่ดินในประเทศไทย สามารถแบ่งออกไปได้หลายประเภทและการใช้ประโยชน์ แบ่งได้ออกเป็น ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ทีดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น แล้วที่ดินแต่ละประเภทนี้ก็จะมีเอกสารสิทธิ์ หรือ เอกสารต่างๆ แตกต่างกันไป ได้แก่

    • น.ส 3 เป็นหนังสือที่ได้การรับรองจากเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน แต่สิทธิ์ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ โดยหนังสือเป็นแบบธรรมดามีการรังวัด และจัดทำแผนที่ดิน

    [รูปภาพ]

    • น.ส 3กเหมือนกับ น.ส3 จะแตกต่างกันที่มีการรังวัด และจัดทำแผนที่ของที่ดินจากภาพระวางรูปถ่ายทางอากาศ

    [รูปภาพ]

    • นส.4 ครุฑสีแดงสามารถซื้อขาย จำนองได้ สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้

    [รูปภาพ]

    2.ตรวจสอบพื้นดินรอบข้าง

    เจ้าของที่ดินควรจะทราบว่าพื้นที่รอบข้างที่ติดอยู่นั้นเป็นพื้นที่อะไร เช่น ติดกับพื้นที่สาธารณะไหม หรือเป็นที่ดินเปล่า สวน ไร่ นา หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

  • อิฐ The Series
    By vLIVING PRO27 ธันวาคม 2567 09:52:32

    อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา 3 ประเภท อิฐยอดนิยมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการก่อสร้าง วันนี้เรามีอิฐ 3 ประเภทมาเปรียบเทียบกัน ว่าแบบไหนเหมาะกับการใช้งานที่ตรงกับตัวเรามากที่สุดมาฝากกัน

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

  • การที่จะรับงานต่อจากผู้รับเหมาเดิม อย่าลืมสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา เราจะได้แก้ไขทัน วันนี้เรามีตัวอย่าง ก่อนรับงานต่อจากผู้รับเหมาเจ้าเดิม ว่าควรเช็คอะไรบ้างมาฝากกัน อย่าลืมเช็คให้ชัวร์ก่อนรับงาน 

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

  • สร้างบ้านอย่างไรให้ไม่มีปัญหากับผู้รับเหมา ผู้รับเหมากับเจ้าของบ้านเปรียบเสมือนลิ้นกับฟัน

    ในการทำงานร่วมกัน อาจมีบ้างที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน วันนี้เรามีเทคนิค แนะนำ ทำงานอย่างไรให้สองฝ่ายราบรื่น วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน 

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

     

    [รูปภาพ]

  • ปัญหารอยร้าวที่เกิดขึ้น ของบ้าน ที่พบเจอกันบ่อยๆ ที่เกิดขึ้นจริงๆแล้วเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เรามีประเภทของรอยร้าวแต่ละประเภทมาฝากกัน

    [รูปภาพ]

    1.รอยร้าวเสาเอ็น- ทับหลัง

    ส่วนมากจะเป็นที่หน้าต่างไม้ เพราะเป็นวัสดุที่มีความยืดหดตัวเมื่ออุณหภูมิและความชื้นมีความเปลี่ยนแปลง

     ทำให้ปูนที่ฉาบไว้เกิดรอยร้าวได้ ไม่เป็นอันตรายมาก

    [รูปภาพ]

    2.ผนังแตกลายงา

    เกิดจากการผสมปูนฉาบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือผนังที่ก่อไว้เกิดการหดตัวจากอุณหภูมิจึงทำให้ปูนฉาบเกิดเป็นรอยไม่อันตรายไม่มีผลต่อโครงสร้าง

    [รูปภาพ]

     

    3.รอยร้าวที่รอยต่อระหว่างผนังกับเสาและคาน

    เกิดจากเวลาก่อสร้างไม่ได้ทำการเสียบเหล็กหนวดกุ้ง เพื่อทำการยึดเกาะกับเสา หรืออาจจะเสียบเหล็กหนวดกุ้งไม่แน่นพอ ทำให้เกิดรอยร้าว

    [รูปภาพ]

    4.รอยแตกลายงาที่พื้น

    เกิดจากพื้นที่ไม่ได้ปูวัสดุปิดผิวเช่น คอนกรีตขัดมัน เพราะคอนกรีตมีความหนามากเกินไป ทำให้เกิดรอยแตกลายงาได้ แต่ไม่ทำให้เกิดอันตราย ควรปูวัสดุปิดผิวทับไปเช่นกระเบื้องยาง

    [รูปภาพ]

    5.รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง

    เป็นรอยร้าวที่พื้นแอ่นตัวและคานรับน้ำหนักมากเกินไป หากเกิดรอยร้าวประเภทนี้ ให้เช็คดูว่ามีของที่มีน้ำหนักมากอยู่ตรงนั้นไหม หากมีให้ทำการย้ายไปทันทีเพื่อช่วยลดน้ำหนักตรงนั้น

    [รูปภาพ]

     

    6.รอยร้าวที่มีสนิมเหล็กเสริมใต้พื้น

    เกิดจากพื้นดาดฟ้ามีน้ำขังจนทำให้ซึมเข้ามาที่เหล็กภายในพื้นคอนกรีต ทำให้เกิดสนิม  ขยายตัวทำให้คอนกรีตที่หุ้มเหล็ก ร่วงออกมาทำให้พื้นไม่สามารถรับน้ำหนักมากๆได้

    [รูปภาพ]

    7.รอยร้าวทแยงมุมบนผนัง

    สาเหตุมาจากฐานรากมีการทรุดตัว โครงสร้างบ้านไม่แข็งแรง ควรรีบให้วิศวกรมาดูโดยด่วนเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

    [รูปภาพ]

     

    8.รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาทบริเวณกลางพื้น

    สาเหตุมาจากพื้นด้านบนได้รับน้ำหนักมากจนเกินไปที่จะรับน้ำหนักได้ ควรรีบแก้ไขก่อนพื้นจะถล่มลงมา

    [รูปภาพ]

    9.รอยร้าวตามขอบและคานพื้น

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

     

  • ปัญหากระเบื้องระเบิดเป็นปัญหาที่เกิดกับเทคนิคการปูกระเบื้องโดยตรงเพราะตามลักษณะของกระเบื้องแล้วหากใช้วิธีการปูที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดปัญหาที่ทำให้กระเบื้องแตกร้าว หรือระเบิดได้ดังนี้

    [รูปภาพ]

    [รูปภาพ]

    1.ปูกระเบื้องเว้นแนวร่องชิดเกินไป

    ช่างหลายคน ชอบปูกระเบื้องร่องชิด เพื่อให้ดูสวยงาม แต่หากในบริเวณที่ปูกระเบื้องนั้น มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระหว่างวันมาก คือ กลางวันอากาศร้อนจัด ส่วนเวลากลางคืน อุณหภูมิก็ลดลงเร็ว ทำให้ตัวกระเบื้องมีการขยายตัวตอนกลางวัน และหดตัวตอนกลางคืน แต่เมื่อมีการปูกระเบื้องเว้นร่องน้อย ทำให้เมื่อกระเบื้องมีการขยับตัว จะเบียดกันเอง ทำให้เกิดการโก่ง และแตกออกมาจากพื้นได้

    [รูปภาพ]2.ไม่ได้ทาปูนกาวลงบนหลังกระเบื้อง หรือมีการปูกระเบื้องแบบซาลาเปา

    ช่างกระเบื้องบางคน เวลาปูกระเบื้อง จะทาปูนลงบนพื้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ทาปูนกาวที่แผ่นกระเบื้อง โดยช่างจะทำการวางกระเบื้องบนปูนที่เตรียมไว้ และเคาะให้ได้ระดับไปเลย ทำให้การยึดเกาะตัวระหว่างพื้นกับกระเบื้องไม่ดีเท่าที่ควร (จะเห็นจากรูปกระเบื้องที่แตก หลุดร่อนออกมา ไม่มีปูนติดกระเบื้อง)  หรืออาจเกิดจากการที่ช่างใช้วิธีปูกระเบื้องแบบซาลาเปา คือ ใส่ปูนแค่บริเวณกลางแผ่นกระเบื้อง แล้วทำการเคาะให้ได้ระดับ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ช่างทำงานง่าย และเร็ว แต่ประสิทธิภายในการยึดเกาะของกระเบื้องกับพื้นเดิม ไม่ดี และกระเบื้องก็มีโอกาส แตกบิ่น บริเวณมุมได้ง่ายอีกด้วย

    [รูปภาพ]

     

    การแก้ไขสำหรับกรณีที่เกิดกระเบื้องระเบิด

    1.ควรเลาะกระเบื้องเก่าออกทั้งหมด แล้วทำการปูใหม่และสำหรับบ้านสร้างใหม่ เราก็สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

    [รูปภาพ]

    2.การปูให้ถูกวิธีตั้งแต่แรก คือ ปรับระดับพื้นให้เหมาะสม

    [รูปภาพ]

     

    3.ใช้ปูนกาวซีเมนต์ที่มีคุณภาพ โดยทาให้เต็มทั้งพื้นและทาที่หลังกระเบื้องด้วย แล้วทำการเว้นร่องกระเบื้องตามระยะที่กำหนด ก็จะทำให้พื้น ที่เราปูกระเบื้องไว้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คงทนไปตลอดอายุการใช้งาน

    [รูปภาพ]